Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ผู้ถือหุ้น, ลูกค้าและผู้บริโภค, ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม

มิตรผลตระหนักถึงความสำคัญของคุณภาพสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถใช้สินค้าภายใต้แบรนด์มิตรผลได้อย่างมั่นใจ เราจึงใส่ใจในทุกกระบวนการทำงานตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ อีกทั้งยังสรรหาสินค้าที่ตอบโจทย์ความต้องการของตลาดอยู่เสมอ เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายและเฉพาะตัวในการบริโภคที่มากขึ้น บริษัทจึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ  ออกสู่ตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อเปิดรับโอกาสใหม่ๆ จากความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้

เป้าหมายและผลการดำเนินงานของปี 2566

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
ดัชนีความพึงพอใจของลูกค้าธุรกิจน้ำตาล (Net Promoter Score: NPS)
ร้อยละ 82
ร้อยละ 80

แนวทางการบริหารจัดการ

การดูแลความปลอดภัยของสินค้า

เนื่องจากความปลอดภัยของสินค้า เป็นเรื่องที่สามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค และอาจก่อให้เกิดความไม่พึงพอใจ การร้องเรียนจากลูกค้า การเรียกคืนสินค้าหรือฟ้องร้องดำเนินคดี รวมถึงส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ ชื่อเสียง ภาพลักษณ์ และอาจถูกต่อต้านในกลุ่มผู้บริโภค ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียรายได้และส่วนแบ่งทางการตลาด ดังนั้นกลุ่มมิตรผลจึงมุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ในกระบวนการผลิตตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน โดยมีการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติตลอดทั้งกระบวนการ เช่น ในการจัดหาอ้อย ได้มีการส่งเสริมให้ชาวไร่ลดการใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่ใช้อ้อยที่ผ่านการตัดต่อพันธุกรรม มีนโยบายเรื่องความปลอดภัยทางด้านอาหารอย่างชัดเจน เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพในทุกธุรกิจของมิตรผล บริษัทจึงมีนโยบายคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร* และมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลด้านคุณภาพ เพื่อทำการตรวจสอบคุณภาพและให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงวิเคราะห์และวางแผนเรื่องการปรับปรุงพัฒนาด้านคุณภาพตามที่ตกลงกับลูกค้า นอกจากนั้นแล้วกลุ่มมิตรผลยังได้ดำเนินการรับรองตามมาตรฐานสากลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้า เพื่อพัฒนาและปรับปรุงระบบบริหารคุณภาพ และการจัดการด้านความปลอดภัยของอาหารให้มีคุณภาพตั้งแต่การจัดการวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และการส่งมอบ อาทิ มาตรฐานการผลิตอ้อยและน้ำตาลอย่างยั่งยืน หรือ Bonsucro Production Standard การรับรองระบบห่วงโซ่อุปทานของผลิตไม้ (Forest Stewardship CouncilTM Chain of Custody หรือ FSCTM CoC) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000) Good Management Practice (GMP), Hazard Analysis Critical Control Point (HACCP) Food Safety System Certification 22000 (FSSC 2200) และ HALAL เป็นต้น โดยในปี พ.ศ.2566 ร้อยละ 100 ของปริมาณการผลิตของบริษัท ได้รับการรับรองโดยหน่วยงานอิสระตามมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
พ.ศ.2563*
พ.ศ.2564*
พ.ศ.2565**
พ.ศ.2566**
สัดส่วนการผลิตของบริษัทที่ได้รับการรับรองโดยบุคคลที่สามที่เป็นอิสระ ตามมาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหารที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล
(ร้อยละ)
100
100
100
100

* เป็นข้อมูลในช่วง 1 พฤศจิกายน ของปีก่อนหน้า – 31 ตุลาคม ของปีนั้นๆ
** เป็นข้อมูลในช่วง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ

การพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

การตระหนักรู้ด้านสุขภาพของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นและการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ เป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพและโภชนาการของมิตรผล บริษัทจึงต้องปรับตัวให้เข้ากับความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงไป เพื่อเปิดรับโอกาสจากกระแสการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ ในขณะเดียวกันก็ช่วยสนับสนุนให้คนในสังคมมีสุขภาพที่ดีขึ้น

ปัจจุบัน บริษัท มิตรผลวิจัย พัฒนาอ้อยและน้ำตาล จำกัด ภายใต้การดำเนินงานของมิตรผล มีหน้าที่ทำงานวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมการปลูกพืชอ้อย การผลิตผลิตภัณฑ์และบริการที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาล และการผลิตผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงจากผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล เพื่อส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ถือเป็นหนึ่งในภารกิจที่บริษัทจะต้องวิจัยและพัฒนา โดยอยู่ภายใต้ขอบข่ายงานวิจัยดังต่อไปนี้

  1. Crop Production มุ่งเน้นการนำวิทยาการและเทคโนโลยีจากสหสาขาวิชามาประยุกต์ใช้ในการวิจัยและพัฒนาการส่งเสริมการปลูกและอารักขาพืชอ้อย
  2. Sugar Technology and Specialty มุ่งเน้นการพัฒนาการกระบวนการผลิต ผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำตาล และการบริการลูกค้าสัมพันธ์ในการใช้และบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัท
  3. Biobased Chemicals and Energy มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่างๆ ที่ได้จากอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมาผลิต เป็นผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง


นอกจากนี้ ยังกำหนดให้มีคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิจัยและพัฒนา เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลแผนการวิจัยอ้อย น้ำตาล ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และค้นหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับมิตรผล การกำกับดูแลงานถ่ายทอดเทคโนโลยีและความรู้ที่ได้รับจากการวิจัยให้กับพนักงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวมถึงงานด้านความร่วมมือกับองค์กรระดับชาติและนานาชาติ สถาบันวิจัย และสถาบันการศึกษา ที่ผ่านมาบริษัทได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้ 

ผลิตภัณฑ์น้ำตาลไลท์ชูการ์ ภายใต้แบรนด์มิตรผล

ซึ่งเป็นน้ำตาลที่ผสานข้อดีของน้ำตาลทรายและสารให้ความหวาน ด้วยกรรมวิธีผลิตเฉพาะ Dry Blend โดยให้ความหวานเท่าเดิม แต่ผู้บริโภคจะได้รับแคลอรี่ลดลงร้อยละ 50

ผลิตภัณฑ์ ฟรุกโต-โอลิโกแซ็กคาไรด์ (Fructo-oligosaccharides หรือ FOS)

ภายใต้แบรนด์ Priva สำหรับผู้บริโภคทั่วไป แบรนด์ Vallex สำหรับการใช้ในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพที่มีคุณสมบัติมากกว่าความเป็นใยอาหารด้วยคุณสมบัติของความเป็นพรีไบโอติกส์ ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างความสมดุลของระบบทางเดินอาหาร สามารถบริโภคหรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบทั้งในอาหาร เครื่องดื่ม อาหารเสริม และอาหารสัตว์ โดยผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจะมีค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index: GI) แคลอรี่ และใยอาหารทั้งหมด (Total dietary fiber) ในระดับที่ส่งเสริมการทำงานของไมโครไบโอมในลำไส้ได้เป็นอย่างดี

การสำรวจความพึงพอใจของลูกค้าและผู้บริโภค

* เป็นข้อมูลในช่วง 1 พฤษจิกายน ของปีก่อนหน้า – 31 ตุลาคม ของปีนั้นๆ
** เป็นข้อมูลในช่วง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม ของปีนั้นๆ
*** เป้าหมายปี พ.ศ.2566 อ้างอิงจากค่าเฉลี่ยของ Net Promoter Score ของอุตสาหกรรมที่ใกล้เคียง
****อยู่ในช่วงการปรับกลยุทธ์เรื่องการขายและบริการ จึงไม่ได้ทำการสำรวจข้อมูล

นโยบายที่เกี่ยวข้อง

นโยบายคุณภาพและความปลอดภัยของอาหาร