Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

มิตรผลดำเนินธุรกิจตามปรัชญาของความยั่งยืน “ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ” ครอบคลุมทั้ง 3 มิติ สิ่งแวดล้อม สังคม และ การกำกับดูแลกิจการ โดยคณะกรรมการบริษัทได้อนุมัติและประกาศนโยบายการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และได้พิจารณาทบทวนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้มีความชัดเจน เป็นปัจจุบัน สอดคล้องกับหลักการความยั่งยืนในระดับสากล และตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้ทุกธุรกิจของมิตรผลนำไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

กรอบการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

ด้านสิ่งแวดล้อม

สิ่งแวดล้อมคงอยู่

ด้านสังคม

ชุมชนยั่งยืน

ด้านการกำกับดูแลกิจการ

องค์กรโปร่งใส ผสานความร่วมมือ

นโยบายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน

ด้านสิ่งแวดล้อม

  • มุ่งมั่นดำเนินงานภายในองค์กรเพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Greenhouse Gas Emissions)ภายในปี 2050 ตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่าของกลุ่มมิตรผล
  • สนับสนุนการผลิต การใช้ และการเข้าถึงพลังงานหมุนเวียนในองค์กร เพื่อลดผลกระทบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • มุ่งมั่นบริหารทรัพยากรน้ำแบบองค์รวม เพื่อให้เกิดใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ในการทำการเกษตร และในกระบวนการผลิต รวมทั้งให้ความสำคัญกับการบำบัดน้ำเสีย ให้มีคุณภาพเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ หรือก่อนจะปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ
  • ให้ความสำคัญกับการจัดการด้านการผลิต และการบริโภคที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยนวัตกรรมการดำเนินงานภายใต้แนวคิดการใช้ “เปลี่ยนสิ่งไร้ค่า เป็นสิ่งที่มีคุณค่า” (From Waste to Value) รวมทั้งกระบวนการการจัดการของเสียที่มีประสิทธิภาพ เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความหลากหลายทางชีวภาพ
  • มุ่งมั่นส่งเสริมและเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพ ผ่านการปลูก ป้องกัน ลด ฟื้นฟู และอนุรักษ์ป่าไม้ และการจัดการเกษตรรูปแบบใหม่

  • ด้านสังคม

  • ส่งเสริมให้เกษตรกรมีความมั่นคงทางอาหาร และดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน
  • พัฒนาคุณภาพการศึกษา เพื่อส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาคของสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
  • สร้างงาน สร้างโอกาส และรายได้อย่างมีคุณค่าให้กับคนในชุมชนและท้องถิ่น
  • เคารพสิทธิมนุษยชน ยกระดับความรู้ ความสามารถ ดูแลพนักงานอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียม

  • ด้านการกำกับดูแลกิจการ

  • ให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการที่ดี การปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และรอบด้านในทุกมิติ เพื่อให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างโปร่งใส
  • มุ่งมั่นที่จะสนับสนุนและเป็นกลไกสำคัญในการเชื่อมความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนกับภาครัฐ และภาคประชาสังคม ในการขับเคลื่อนเป้าหมายและนโยบายของประเทศ เพื่อพัฒนาชุมชน สังคมและประเทศชาติ และส่งเสริมให้เกิดความเท่าเทียมในสังคม

  • โครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน

    มิตรผลวางโครงสร้างการบริหารงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคณะกรรมการบริษัทได้มอบหมายให้คณะกรรมการเพื่อความยั่งยืน ทำหน้าที่ดูแลการดำเนินงานด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน และกำหนดให้มีการจัดประชุมทุกไตรมาส โดยมีบทบาทและหน้าที่ ดังนี้

    1. กำหนดนโยบาย เป้าหมายและกลยุทธ์ รวมทั้งพิจารณาถึงความเสี่ยงและโอกาสด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการขององค์กร เพื่อให้สอดคล้องกับกลยุทธ์และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ กฎหมาย แนวปฏิบัติที่ดีในระดับสากล รวมถึงทิศทางด้านความยั่งยืนทั้งในระดับประเทศ และสากลอย่างเหมาะสม
    2. พิจารณา สนับสนุนและทบทวนแนวทางการดำเนินงาน รวมถึงให้ข้อเสนอแนะการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการของหน่วยธุรกิจ ให้บูรณาการเข้ากับกระบวนการและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจ
    3. ส่งเสริม ให้คำปรึกษา และให้การสนับสนุน เพื่อให้การดำเนินกลยุทธ์ด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และการดูแลกำกับกิจการขององค์กร เกิดขึ้นทั่วทั้งองค์กรและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง


    โดยมีด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน ภายใต้สายงานบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน ทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ของทุกธุรกิจเพื่อร่วมกันดำเนินงานตามแนวทางที่คณะกรรมการบริษัทกำหนดและมีความเชื่อมโยงสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ให้บรรลุเป้าหมายและตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

    การกำหนดประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญ

    มิตรผลประเมินประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนตามหลักการของ Double materiality เป็นประจำทุกปี โดยประเมินระดับความรุนแรงของผลกระทบและโอกาสในการเกิดผลกระทบที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมและความสัมพันธ์ทางธุรกิจของมิตรผลที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสิทธิมนุษยชน ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วในปัจจุบันและผลกระทบที่คาดว่าจะมีโอกาสเกิดขึ้นในอนาคต โดยพิจารณาใน 2 มุม

    คือ มุม Outside-in หรือผลกระทบที่มีต่อบริษัท อาทิ ผลกระทบต่อภาพลักษณ์และชื่อเสียง ตำแหน่งทางการตลาด และการสร้างมูลค่า และมุม Inside-out หรือผลกระทบที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียภายนอก โดยรวบรวมและจัดลำดับความสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่สำคัญของมิตรผลเทียบเคียงกับมาตรฐานด้านความยั่งยืนระดับสากล GRI Standard : Agriculture Aquaculture and Fishing Sectors 2022 และประเด็นด้านความยั่งยืนที่สำคัญของมิตรผลในปี 2565 และผ่านกระบวนการการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ได้แก่ ผู้ถือหุ้น เกษตรกร ชุมชน คู่ค้า ลูกค้าและผู้บริโภค พนักงาน และภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคมในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสำรวจความคิดเห็นด้วยแบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูลระดับทุติยภูมิ เพื่อนำความคิดเห็นมาจัดลำดับความสำคัญ และวางแนวทางการดำเนินงานให้ตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสม

    ประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืน

    a. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและบริหารความเสี่ยง
    b. ดิจิทัลและเทคโนโลยี
    c. การบริการจัดการห่วงโซ่อุปทาน
    d. นวัตกรรม
    e. กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    f. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
    h. เศรษฐกิจหมุนเวียน
    i. การสนับสนุนชุมชนและสังคม
    j. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    k. แนวปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
    l. การดูแลรักษาพนักงาน
    m .การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย
    และสภาพแวดล้อมในการทำงาน
    r. ความหลากหลายทางชีวภาพ
    s. ความสัมพันธ์กับลูกค้า

    การนำเสนอประเด็นด้านความยั่งยืน

    ประเด็นด้านความยั่งยืน<br>และระดับของผลกระทบ
    หัวข้อที่นำเสนอ
    เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    a. การกำกับดูแลกิจการที่ดีและการบริหารความเสี่ยง
  • การกำกับดูแลกิจการและจริยธรรมทางธุรกิจ
  • การบริหารความเสี่ยง
  • b. ดิจิทัลและเทคโนโลยี
  • ความปลอดภัยของข้อมูล
  • c. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
  • d. นวัตกรรม
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • e. กลยุทธ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • การจัดการพลังงาน
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • f. การบริหารจัดการน้ำและน้ำเสีย
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
  • การบริหารจัดการไร่และน้ำในไร่
  • h. เศรษฐกิจหมุนเวียน
  • การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรม
  • การบริหารจัดการเพื่อลดการสูญเสียอาหาร
  • บรรจุภัณฑ์
  • i. การสนับสนุนชุมชนและสังคม
  • สังคมและชุมชน
  • j. การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
  • การบริหารจัดการพนักงาน
  • k. แนวปฏิบัติด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน
  • การดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน
  • l. การดูแลรักษาพนักงาน
  • การบริหารจัดการพนักงาน
  • m. การบริหารจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมการทำงาน
  • การบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
  • r. ความหลากหลายทางชีวภาพ
  • การบริหารจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ
  • s. การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
  • ลูกค้าและผู้บริโภค
  • การสนับสนุนการดำเนินงานและการเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์กรต่างๆ

    มิตรผลให้ความสำคัญกับการสร้างเครือข่ายและภาคีที่สำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน เพื่อผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรในการขับเคลื่อนประเทศและเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานขององค์กรต่างๆมีความสอดคล้องกับนโยบายการดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนของมิตรผล โดยมุ่งหวังว่าการดำเนินธุรกิจของมิตรผลจะบรรลุเป้าหมายและช่วยสร้างประโยชน์สูงสุดให้กับผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

    บริษัทได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกกับองค์กรหรือหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นในด้านที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนและสอดคล้องกับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของมิตรผลด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการที่สำคัญ คือ

    1. เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงานในประเทศไทย โดยร่วมกับสมาคมการค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องหน่วยงานราชการ ชาวไร่อ้อย และภาคเอกชน ในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงานให้มีเสถียรภาพในเรื่องของปริมาณน้ำตาลและราคาน้ำตาล การคงไว้ซึ่งระบบแบ่งปันผลประโยชน์ที่เกิดความเป็นธรรมระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย การส่งเสริมโอกาสทางธุรกิจให้กับไฟฟ้าจากชีวมวลและเอานอล เพื่อทำให้ชาวไร่อ้อยมีความมั่นคงในอาชีพปลูกอ้อย บริษัทจึงได้รับประโยชน์จากความมั่นคงทางวัตถุดิบ โดยมิตรผลได้สนับสนุนไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 11.34 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64.99 ของงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ.2566
    2. เพื่อขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนของประเทศไทย โดยมิตรผลเข้าร่วมเป็นสมาชิก รวมถึงส่งผู้แทนเข้าร่วมเป็นกรรมการ กับสมาคมหรือสถาบันต่างๆ ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลักดันให้ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความรวมถึงการเคารพสิทธิมนุษยชนและการบริหารจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ นอกจากนี้ บริษัทยังเข้าร่วมในโครงการต่างๆ ที่สนับสนุนเป้าหมายด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ สอดคล้องกับปรัชญาการดำเนินธุรกิจของมิตรผล ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ ซึ่งเป็นการพัฒนาธุรกิจควบคู่กับการพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อม และเป้าหมายการมุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ขององค์กร โดยมิตรผลได้สนับสนุนไปเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 6.11 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 35.01 ของงบประมาณสนับสนุนในปี พ.ศ. 2566