Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลัก : ผู้ถือหุ้น / ชุมชน / ลูกค้าและผู้บริโภค / หน่วยงานภาครัฐและภาคประชาสังคม

ภายใต้แนวคิด ‘ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ’ มิตรผลมุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับภาครัฐ ชุมชน เกษตรกร โรงเรียน และผู้ปกครองในการยกระดับคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมให้เกษตรกรและชุมชนโดยรอบอย่างยั่งยืน ผ่านการพัฒนาองค์ความรู้อย่างรอบด้าน ทั้งการจัดการกับผลผลิตและการจัดจำหน่าย การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาและสถานศึกษาในท้องถิ่นให้มีคุณภาพก้าวทันโลก และการพัฒนาทักษะที่จำเป็นให้คนรุ่นใหม่

มิตรผลจึงได้จัดตั้งฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน ฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ และฝ่ายบริหารการศึกษา เพื่อทำหน้าที่เป็นฟันเฟืองหลักขับเคลื่อนงานพัฒนาสังคมและชุมชน โดยกำหนดให้มีหน่วยงานพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนและหน่วยงานชุมชนสัมพันธ์ประจำอยู่ทุกพื้นที่โรงงานของมิตรผล ในขณะที่หน่วยงานบริหารการศึกษานั้นจะเป็นหน่วยงานส่วนกลางที่ทำงานควบคู่ไปกับพื้นที่ในแต่ละโรงงาน เพื่อให้สามารถดำเนินงานได้อย่างสะดวก กระชับ สามารถตอบสนองความต้องการ สามารถเข้าถึงและสร้างการมีส่วนร่วมกับชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังว่า การพัฒนาคุณภาพชีวิตและการดูแลสิ่งแวดล้อมให้กับชุมชนรอบโรงงาน จะช่วยให้เกิดการสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยและชุมชน เกิดความมั่นคงในอาชีพและอยู่ได้อย่างยั่งยืน นำไปสู่การสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับอาชีพเกษตรกรรมในทัศนคติของแรงงานรุ่นใหม่ ทำให้คนรุ่นใหม่กลับคืนสู่ท้องถิ่น ช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ตลอดจนอุตสาหกรรมต่อเนื่องทั้งหมด

การขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชน 

มิตรผลขับเคลื่อนงานพัฒนาชุมชนโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถเลี้ยงตนเองได้และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี ผ่านกระบวนการทำงานที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาที่ตรงจุด ให้ผลลัพธ์ที่ต่อเนื่องและยั่งยืน โดยเริ่มต้นจากการลงพื้นที่ศึกษาบริบทชุมชน รูปแบบการดำเนินชีวิต ทุน และศักยภาพของชุมชนที่มีอยู่เดิม เพื่อนำมาวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างชุมชนและองค์กร

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
การลดรายจ่ายในครัวเรือน (ด้านค่าอาหาร)
ร้อยละ 5
ร้อยละ 7
การเพิ่มรายรับภาคเกษตรของครัวเรือน
ร้อยละ 7
ร้อยละ 5
การพัฒนาธุรกิจชุมชนเชื่อมโยงกับ บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด
15 ธุรกิจ
17 ธุรกิจ
สร้างตำบลต้นแบบ
12 ตำบล
13 ตำบล

กรอบการดำเนินงาน

เป้าหมาย
พื้นที่เป้าหมาย
มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข สามารถเลี้ยงตนเองได้ และอาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี
ชุมชนในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ ครอบคลุม 23 ตำบล 320 หมู่บ้าน รวม 60,053 ครอบครัว
กรอบการดำเนินงาน
การจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน
มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • เน้นการเปิดโอกาสให้รับผิดชอบร่วมกัน ตั้งแต่ศึกษา วิเคราะห์ วางแผน และปฏิบัติ
  • การพัฒนาต่อยอดจากทุนและศักยภาพชุมชนที่มีอยู่ในแต่ละพื้นที่ ผ่านการขับเคลื่อนของคณะกรรมการตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา ที่ทำหน้าที่เชื่อมประสานแผนพัฒนาตำบลกับหน่วยงาน/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง การแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและร่วมจัดทำแผนพัฒนาตำบล
  • การพัฒนาระบบเกษตรชุมชนและอาหารปลอดภัย
    มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • การส่งเสริมให้ชุมชนสร้างฐานอาหารของตนเองเพื่อให้ชุมชนได้บริโภคอาหารปลอดภัย ด้วยการแบ่งพื้นที่ทำเกษตรผสมผสาน ปศุสัตว์ และประมง
  • การเสริมองค์ความรู้การทำเกษตรต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้ชุมชนพึ่งพาตนเองลดการพึ่งพาจากภายนอก นำไปสู่การลดรายจ่ายด้านอาหารของครัวเรือนในระยะยาว
  • การพัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน
    มีหลักการดำเนินงาน ดังนี้
  • การพัฒนาต่อยอดสินค้าชุมชน ได้แก่ สินค้าหัตถกรรม อาหารแปรรูป และผลผลิตอาหารปลอดภัยต่างๆ บนพื้นฐานของศักยภาพ ความสามารถและทรัพยากรที่ชุมชนมีอยู่
  • การพัฒนาองค์ความรู้การเกษตรควบคู่กับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี IOT ให้กับเกษตรกร จนสามารถพัฒนากระบวนการผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน PGS ปลูกเพาะสุข และ GAP รวมถึงพัฒนาความรู้ทางการตลาด
  • ผลการดำเนินงาน

    ฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนจัดตั้งธุรกิจเพื่อสังคม “บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนกระบวนการส่งเสริมการปลูกผักปลอดภัยและการบริหารจัดการผลผลิตให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยมีหน้าที่สำคัญ คือ

    เป็นตัวกลาง

    ระหว่าง "คู่ค้า" และ "เกษตรกร"

    เป็นที่ปรึกษาให้กับเกษตรกร

    ตั้งแต่การเพาะปลูก การวางแผนการตลาด การกำหนดราคา เพื่อให้เกษตรกรขายสินค้าได้ในราคาที่ดีที่สุด

    จัดหาช่องทางการจำหน่ายสินค้า

    ให้กับเกษตรกร

    บริษัทฯ มีการจ้างงานผู้พิการในชุมชน เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยฝ่ายพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน และยังจัดให้มีการถ่ายทอดองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์และบริหารจัดการผลผลิตของชุมชน ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้สังคมมีการรับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของการสนับสนุนผู้พิการในชุมชนอย่างแท้จริง และเป็นการสร้างสังคมที่เท่าเทียมและยั่งยืนในอนาคต

    ปี พ.ศ.2566 บริษัท ปลูกเพาะสุข จำกัด มีเงินรายได้หมุนเวียนรวมมากกว่า 900,000 บาท เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนของความสำเร็จในการสร้างความมั่นคงทางอาหาร การสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การพัฒนาศักยภาพที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม

    ด้านการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน

    ครัวเรือนอาสาเข้าร่วมโครงการ

    จำนวน

    ครัวเรือน
    1000

    คณะกรรมการตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา

    จำนวน

    คน
    500

    ศูนย์เรียนรู้ตำบลมิตรผลร่วมพัฒนา

    จำนวน

    แห่ง
    100

    ดำเนินโครงการชุมชนเข้มแข็งด้วยแรงผู้โดยมีการจ้างงานพนักงานผู้พิการ​

    จ้างงานผู้พิการตามมาตรา 33 จำนวน

    คน
    200

    โดยปฏิบัติงานในพื้นที่โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน จำนวน 50 คน และร่วมทำงานกับองค์การบริหารส่วนตำบล โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล โรงเรียนในชุมชน และศูนย์เรียนรู้ตำบลมิตรผล

    จัดตั้งชมรมคนพิการจำนวน

    ชมรม
    50

    เพื่อเป็นการร่วมกันพัฒนากระบวนการรวมกลุ่ม ทักษะความรู้ และจัดสวัสดิการให้กับผู้พิการภายในชุมชนร่วมกับประสานงานกับหน่วยงานภาคีในการร่วมพัฒนาผู้พิการ 

    ด้านการพัฒนาระบบเกษตรและอาหารปลอดภัย 

    เกิดกลุ่มปลูกผัก

    จำนวน

    กลุ่ม
    100

    มีสมาชิกผู้ปลูกผักปลอดภัย

    จำนวน

    คน
    500

    มีรายได้หมุนเวียนจากการปลูกผักปลอดภัย

    รวมทั้งหมด

    บาท
    800000

    ด้านระบบเศรษฐกิจชุมชน

    เกิดกลุ่มอาชีพ

    จำนวน

    กลุ่ม
    100

    มีรายได้หมุนเวียนจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน

    รวม

    คน
    2000000

    การขับเคลื่อนงานชุมชนสัมพันธ์

    การขับเคลื่อนงานชุมชนสัมพันธ์ของมิตรผล โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบและสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับชุมชน ปัจจุบันดำเนินโครงการในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด ยโสธร และอำนาจเจริญ คู่ขนานไปพร้อมกับการดำเนินงานพัฒนาชุมชน

    กรอบการดำเนินงาน

    เป้าหมาย
    พื้นที่เป้าหมาย
    สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชนโดยรอบและสร้างความไว้วางใจระหว่างบริษัทกับชุมชน
    ชุมชนในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุพรรณบุรี สิงห์บุรี ขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เลย ร้อยเอ็ด ยโสธรและอำนาจเจริญ
    กรอบการดำเนินงาน
    การรับฟังและเข้าใจความต้องการของชุมชน
    มิตรผลมีการสำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของชุมชนโดยรอบเพื่อให้สามารถระบุโครงการที่เหมาะสมและตอบโจทย์ได้จริง
    การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ
    มิตรผลจะทำงานร่วมกับชุมชน องค์กรท้องถิ่น ภาครัฐ และภาคีเครือข่ายต่างๆ เพื่อสร้างความร่วมมือที่แข็งแกร่งและยั่งยืน
    การส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ
    โครงการที่ดำเนินการจะต้องสอดคล้องกับหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
    การติดตามและประเมินผล
    มีการติดตามและประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าโครงการที่ดำเนินการไปนั้นมีประสิทธิภาพและสามารถสร้างผลลัพธ์ที่ต้องการได้จริง
    การสื่อสารและรายงานผล
    มิตรผลจะมีการสื่อสารและรายงานผลการดำเนินงานชุมชนสัมพันธ์ให้กับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบอย่างโปร่งใสและต่อเนื่อง

    ผลการดำเนินงาน  

    กิจกรรม
    การดำเนินงาน
    การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบริษัทและชุมชน
  • การสื่อสารและการมีส่วนร่วมกับชุมชนในพื้นที่ที่บริษัทดำเนินธุรกิจ เพื่อให้ชุมชนมีความเข้าใจและสนับสนุนกิจกรรมของบริษัทผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การจัดเสวนา การให้หน่วยงานภายนอกเข้าเยี่ยมชมโรงงาน โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 รับทราบและเข้าใจกระบวนการทำงานของโรงงาน
  • เข้าถึงชุมชนรอบโรงงานผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ การสำรวจชุมชน กิจกรรมตรวจสอบและประเมินข้อร้องเรียน กิจกรรมเยี่ยมจุดตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อม กิจกรรมไตรภาคีและกิจกรรมเครือข่ายเพื่อนบ้านมิตรผล โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 มีส่วนร่วมกับการรับรู้การจัดการของโรงงาน
  • การพัฒนาโครงการเพื่อสังคม
  • พัฒนาชุมชนรอบโรงงาน ผ่านกิจกรรมต่างๆ อาทิ โครงการพัฒนาศักยภาพชุมชน โครงการด้านสร้างเศรษฐกิจชุมชน โครงการด้านส่งเสริมกีฬาและสุขภาวะที่ดี โครงการด้านอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม และกิจกรรมสืบสานวัฒนธรรมท้องถิ่น โดยมีชุมชนเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 มีส่วนร่วมในการพัฒนาและสร้างสรรค์ประโยชน์ร่วมกัน
  • การสนับสนุนการทำงานภายใต้แนวคิด MIND: ปรับอุตสาหกรรมเข้าสู่วิถีใหม่ ของกระทรวงอุตสาหกรรม
  • การเยี่ยมจุดตรวจวัดสิ่งแวดล้อม ปีละ 2 ครั้ง เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับชุมชนถึงกระบวนการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมของโรงงาน
  • การจัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชน เพื่อแจ้งข่าวสารและการดำเนินงานผลการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัยของโรงงาน ติดตามคุณภาพสิ่งแวดล้อม และรับรู้ความต้องการ ความกังวลใจของชุมชน ปีละ 2 ครั้ง
  • จัดทำโครงการขยะชุมชน ที่โรงเรียนโคกสะอาดวิทยา เดือนละ 1 ครั้ง
  • จัดกิจกรรมเฝ้าระวัง สุ่มตรวจ และป้องกันอุบัติเหตุตลอดช่วงฤดูหีบอ้อย
  • จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะที่ดี ผ่านโครงการตรวจสุขภาพชุมชน ปีละ 1 ครั้ง
  • สนับสนุนกิจกรรมภายใต้โครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) ในพื้นที่
  • อุทยานมิตรผลด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
  • อุทยานมิตรผลภูเขียว จ.ชัยภูมิ
  • มีส่วนร่วมในกระบวนการในการจัดทำแผนปฏิบัติการการ พัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566- พ.ศ.2570) ซึ่งเป็นการขอความคิดเห็นทั้งจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมในการกำหนดทิศทางการพัฒนาเพื่อให้ได้แผนปฏิบัติการที่มีคุณภาพ มีเนื้อหาที่ครอบคลุมและชัดเจนและสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการเพื่อยกระดับอุตสาหกรรมของอุทยานมิตรผลด่านช้าง ได้แก่
    • โครงการเปลี่ยนระบบบำบัดน้ำเสียแบบผึ่งเป็นแบบ Activated sludge
    • โครงการติดตั้ง Floating solar
    • โครงการเปลี่ยนเชื้อเพลิงรถโฟร์คลิฟท์จากดีเซลเป็นพลังงานไฟฟ้า
  • ส่งเสริมการดำเนินงานของโครงการเพื่อสังคมต่างๆ ของอุทยานมิตรผลภูเขียว ได้แก่
    • การตรวจสุขภาพชุมชนประจำปี
    • โครงการสานเสวนาชุมชน (เยี่ยมบ้านสานสัมพันธ์ชุมชนรอบโรงงาน)
    • โครงการมิตรอาสา (สร้างถิ่นให้น่าอยู่)
    • โครงการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • โครงการเยี่ยมชมการตรวจวัดคุณภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน
    • โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนาบ้านภูดิน (มิตรผลอุปถัมภ์)
  • การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษา 

    การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษาของมิตรผล มีเป้าหมายเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รอบโรงงาน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนในการส่งเสริมการพัฒนาการศึกษาไทย ทั้งการพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียนร่วมกับสถานศึกษา การสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการจัดการศึกษาที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งหวังที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิต ไม่เฉพาะสำหรับนักเรียนและครูเท่านั้น แต่ทุกคนในชุมชนยังสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดตั้ง ใช้งาน สืบค้นความรู้และข้อมูลข่าวสาร ทั้งในด้านการเรียนและการประกอบอาชีพ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนปฏิสัมพันธ์กันของทุกฝ่ายในชุมชน นำไปสู่บรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ หรือ ‘Learning Ecosystem’

    กรอบการดำเนินงาน

    เป้าหมาย
    ยกระดับคุณภาพการศึกษาในพื้นที่รอบโรงงาน
    แนวทางการดำเนินงาน
    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้
  • ปรับสภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน
  • สนับสนุนเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาที่จำเป็น ทั้ง Hardware Software และ Digital Literacy
  • การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
  • อบรมพัฒนาครูให้มีทักษะการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน และพัฒนาความก้าวหน้าในวิชาชีพ
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ/สมรรถนะ
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพตามบริบทท้องถิ่นแก่นักเรียน
  • สร้างสมรรถนะวิชาชีพแก่นักศึกษาระดับอาชีวศึกษาตามมาตรฐานสากล โดยร่วมกับองค์กรชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
  • สนับสนุนทรัพยากรที่จำเป็นเพื่อการดำรงชีพ และพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน
  • ผลการดำเนินงาน

    การขับเคลื่อนงานบริหารการศึกษาของมิตรผล ดำเนินงานภายใต้โครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) และโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) โดยมีสถานศึกษาในความดูแล ทั้งประเภทโรงเรียนและวิทยาลัยอาชีวศึกษา ตามรายละเอียด ดังนี้

    โครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

    เป้าหมาย
    ต้นแบบโรงเรียนคุณภาพของชุมชน

    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้

    • สนับสนุนเจ้าหน้าที่ ICT Talent 3 คน ดูแลโรงเรียน 9 แห่ง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
    • ส่งเสริมให้ “ผู้สอนและผู้เรียน” ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการข้อมูล และการออกแบบการจัดการเรียนการสอนผ่านรูปแบบดิจิทัลได้อย่างมืออาชีพ ผ่านโครงการส่งเสริมความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยี Google สร้างครูแกนนำที่ผ่านการรับรอง Google Certified Educator จำนวน 60 คน
    • สร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ผ่านโครงการ Digital Classroom : Google For Edutainment ที่สนับสนุนคอมพิวเตอร์มือสองจำนวน 266 เครื่อง มอบแก่โรงเรียนในโครงการฯ ในพื้นที่ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 

    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ

    • จัดการเรียนรู้ที่มุ่งเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางและยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอนตามแนวทางโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม)
    • จัดอบรมพัฒนาทักษะการสอนและการจัดทำสื่อการสอนสำหรับครู เพื่อส่งเสริมรูปแบบการเรียนรู้แบบ Active Learning เน้นให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมและมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนการสอน ผ่านการปฏิบัติที่หลากหลาย
    • สนับสนุนครุภัณฑ์เพื่อการศึกษา สื่อเทคโนโลยี อุปกรณ์การเรียน หนังสือเสริมการเรียนรู้ในห้องสมุด หนังสือเรียน และคู่มือการสอนตามแนวของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายประถม) รวม 950,000 บาท
    • อบรมทักษะการโค้ชของคุณครู เพื่อสร้างห้องเรียนเชิงบวก รวมทั้งส่งเสริมกระบวนการคิด (Critical Thinking) ให้กับนักเรียน โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการโค้ชจากสถาบัน BE Management Coach โดยมีคุณครูที่ผ่านการอบรมและสอบปฏิบัติจำนวน 16 คน

    การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ

    • สนับสนุนการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนเพื่อวางรากฐานด้านทักษะอาชีพให้แก่นักเรียน เช่น การเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ การผลิตและการจัดจำหน่ายสินค้า เป็นต้น

    การพัฒนาด้านทักษะชีวิต

    • สนับสนุนการจัดกิจกรรม “SP Field Challenge” เสริมสร้างกลไกการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชนในการจัดการศึกษาผ่านกระบวนการชวนคิด ชวนสร้าง ชวนเสริม
    • สนับสนุนการจัดกิจกรรมนอกห้องเรียนที่เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน และการอนุรักษ์และสืบสานศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
    • ส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ผ่านโครงการ “รวมกันสร้างสรรค์ นิทานสร้างได้” โดยเป็นการประกวดแต่งและเล่านิทานสำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 20 โรงเรียน

    โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

    มิตรผลมีเป้าหมายในการสร้างต้นแบบด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษารูปแบบใหม่ และยกระดับวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น ให้เป็นสถานศึกษาอาชีวศึกษาชั้นนำด้านเกษตรอุตสาหกรรม ระดับอาเซียน โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (Learning Ecosystem) ซึ่งประกอบด้วย 

    มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนรู้

    ด้วยการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) 

    ให้ความสำคัญกับการพัฒนาครู

    ให้มีทักษะการสอนที่จำเป็นสำหรับจัดการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ การคิดวิเคราะห์ (Critical Thinking) การคิดสร้างสรรค์ (Creativity) การทำงานเป็นทีม (Collaboration) การสื่อสารและนำเสนอเป็น (Communication) ทักษะแห่งอนาคต ได้แก่ ภาษาอังกฤษ และทักษะด้านเทคโนโลยี 

    พัฒนาด้านทักษะอาชีพ

    ที่เหมาะสมตามบริบทของพื้นที่ เพื่อให้นักเรียนได้รับการวางรากฐานทักษะอาชีพที่ดีสำหรับอนาคต  

    ปรับสภาพแวดล้อมในห้องเรียนและสร้างแหล่งเรียนรู้ของโรงเรียน

    เพื่อให้โรงเรียนสามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพภายใต้บริบทของแต่ละพื้นที่ 

    ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ของชุมชน

    โดยเน้นการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา ให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างโรงเรียนและชุมชน 

    เป้าหมาย
    ต้นแบบโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้านนวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษารูปแบบใหม่
    การสร้างระบบนิเวศทางการเรียนรู้
    ด้านการพัฒนาห้องเรียนคุณภาพ
    สนับสนุนสื่อการสอน โต๊ะ-เก้าอี้นักเรียน สื่อตกแต่งชั้นเรียน และอุปกรณ์ในการจัดทำสื่อการสอนพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
    ด้านอุปกรณ์เทคโนโลยี
    สนับสนุนห้องคอมพิวเตอร์ ห้องเรียนหุ่นยนต์ โปรเจ็คเตอร์ และโทรทัศน์ในห้องเรียน ชุดเครื่องเสียง
    ด้านแหล่งเรียนรู้ในโรงเรียน
    สนับสนุนห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ห้องฝึกปฏิบัติการทักษะอาชีพ สนามเด็กเล่น พื้นที่กิจกรรมการเรียนรู้ในร่มและกลางแจ้ง ห้องสมุด
    ด้านสื่อการสอนและสื่อเสริมการเรียนรู้
    พัฒนาทักษะด้านเทคโนโลยี ได้แก่ อุปกรณ์ Clicker จำนวน 450 เครื่อง แก่โรงเรียน 5 แห่ง อุปกรณ์ Robotics and Coding แก่โรงเรียน 5 แห่ง
    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
    ด้านดิจิทัล
  • พัฒนาทักษะครูในการใช้ Google เพื่อการจัดการเรียนการสอน และส่งเสริมการรับรองความเชี่ยวชาญการใช้ Google สำหรับนักการศึกษา (Google Certified Educator) ระดับ 1 และ 2 โดยมีคุณครูได้รับการรับรอง จำนวน 99 คน
  • โรงเรียนกรับใหญ่ว่องกุศลกิจพิทยาคม ได้รับคัดเลือกให้จัดตั้ง Google Educator Groups (GEG ราชบุรี) เป็นกลุ่มที่ 25 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มผู้สอนที่รวมตัวกันจัดกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อขยายผลการใช้ Google Apps เพื่อการศึกษา
  • ด้านภาษาอังกฤษ
  • ยกระดับคุณภาพครูผู้สอนวิชาภาษาอังกฤษและครูประจำชั้นในโรงเรียนพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง ให้มีทักษะภาษาอังกฤษตามกรอบ CEFR (Common European Framework of Reference for Languages)ซึ่งเป็นเกณฑ์ตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด ผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ รวมจำนวน 33 คน 
  • ส่งเสริมให้นักเรียนมีสมรรถนะการใช้ภาษาอังกฤษระดับ A1 โดยจัดคาบเรียนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการ สัปดาห์ละ 3 ชั่วโมง โดยมีครูชาวต่างชาติสอนร่วมกับครูประจำวิชา ซึ่งได้เริ่มนำร่องในโรงเรียน 3 แห่ง ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • ด้าน Soft Skill
  • หลักสูตร “7 อุปนิสัยสำหรับนักการศึกษาผู้มีประสิทธิผลสูง” เพื่อพัฒนาผู้บริหารและคุณครู จำนวน 40 คน
  • ด้านวิชาการอื่นๆ
  • การสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
    • Reskill การสร้างสื่อการสอนและ Upskill การสร้างสื่อด้วยดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกตามแนวทางของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้กับโรงเรียน 4 แห่ง และสร้างครูแกนนำจำนวน 60 คน
    • สร้างคลังนวัตกรรมสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุกประจำโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 4 แห่ง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง
    • ขยายผลการอบรมการสร้างสื่อการสอนเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) ไปยังโรงเรียนอื่นๆ ในเขตพื้นที่การศึกษาของตนเองจำนวน 32 แห่ง และสร้างครูต้นแบบได้จำนวน 151 คน
  • Clicker นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก 
    • การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ ด้วยการใช้อุปกรณ์ Clicker ระดับประถมศึกษาทุกรายวิชา จำนวน 3 โรงเรียน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและขยายผลไปยัง 2 โรงเรียนในพื้นที่ภาคใต้ที่เข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 3
    • การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ Clicker ในกิจกรรมต่างๆ ของโรงเรียน เช่น การเลือกตั้งประธานนักเรียน การประกวดแข่งขันทักษะทางวิชาการ เป็นต้น 
  • Robotics and Coding 
    • สนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนหุ่นยนต์ประจำโรงเรียนและส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
    • ร่วมมือกับชมรมวิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย จัดตั้งโรงเรียนอนุบาลเทศบาลตำบลกรับใหญ่ จ.ราชบุรี เป็นศูนย์พัฒนาการเรียนรู้วิทยาการหุ่นยนต์แห่งประเทศไทย (ภาคกลาง) และการจัดการแข่งขัน MITR PHOL KRABYAI RATCHABURI GRAND ROBOTICS CHAMPIONSHIP 2023 ซึ่งเป็นการต่อยอดจากการเรียนวิชาวิทยาการคำนวณ และการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้าน Robotics and Coding
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ
    ค้นหาความเป็นเลิศ (Excellence) เพื่อพัฒนาทักษะอาชีพ 
  • ส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพตามความสนใจของนักเรียน และตามบริบทของพื้นที่ของโรงเรียน ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ รวม 7 แห่ง
  • สร้างการมีส่วนร่วมของสถานประกอบการในท้องถิ่น ปราชญ์ชุมชน และผู้ปกครอง ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านวิชาชีพร่วมกัน
  • ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนด้านทักษะอาชีพ เช่น การประกวดทักษะอาชีพ การจัดแสดงผลงาน การออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในเทศกาลต่างๆ
  • โรงเรียนเตรียมอนาคต (Career-Based Academy) 
  • จัดทำหลักสูตรระยะสั้นเพื่อเตรียมความพร้อมศึกษาต่อด้านอาชีวศึกษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น โดยร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญจากสถานประกอบการ ครูวิทยาลัยฯ และคุณครูจากโรงเรียนในเครือข่าย
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
    โครงการมิตรอาสาเพื่อการศึกษา
    ส่งเสริมการสร้างวัฒนธรรมองค์กรและเปิดโอกาสให้พนักงานที่มีจิตอาสาได้ทำประโยชน์ต่อสังคมผ่านกิจกรรมต่างๆ ดังนี้ 
  • ระดมทุนเพื่อสนับสนุน นิทานรัก(ษ์)โลก จำนวน 700 เล่ม สำหรับเสริมการเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกต่อสิ่งแวดล้อม แก่โรงเรียน 16 แห่ง รวมเป็นเงิน 72,000 บาท
  • กิจกรรม มิตรแบ่งปัน ระดมพลังแบ่งปันความรู้ ความเชี่ยวชาญของตนเอง ด้วยการร่วมกันจัดทำหลักสูตรระยะสั้น เตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อศึกษาต่อระดับอาชีวศึกษา จำนวน 5 หลักสูตร
  • กิจกรรม Mitr Phol Knowledge Sharing จำนวน 7 ครั้ง เพื่อแบ่งปันความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจแก่คุณครูและนักเรียน
  • กิจกรรมมิตรอาสาเพื่อการศึกษา : มิตรแบ่งปัน ชุดนี้พี่ให้น้อง ระดมทุนจัดซื้อเครื่องแต่งกายและของรางวัลสำหรับจัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ รวมเป็นเงิน 202,000 บาท
  • กิจกรรม MITR Love You จำหน่ายผลิตภัณฑ์โรงเรียนที่เกิดจากการส่งเสริมทักษะอาชีพ กระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียน สู่การต่อยอดการจัดจำหน่ายผ่านช่องทางต่างๆ รวมเป็นเงิน 33,560 บาท
  • ทุนการศึกษา
  • สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการดำรงชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนระดับอนุบาลถึงระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย รวมเป็นเงิน 1,526,000 บาท
  • โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project): วิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น

    มิตรผลมีส่วนร่วมในการพัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาวิทยาลัยฯ ให้เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำระดับอาเซียน การสร้างกำลังคนอาชีวศึกษาด้านเกษตรอุตสาหกรรมที่มีสมรรถนะสูงและมีความเชี่ยวชาญในการใช้เทคโนโลยีเพื่อการเกษตร สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ และสร้างความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศ โดยในปี พ.ศ.2566 มีการดำเนินงาน ดังนี้

    เป้าหมาย
    พัฒนาวิทยาลัยเทคโนโลยีเกษตรอุตสาหกรรมชั้นสูงขอนแก่น ให้เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำด้านเกษตรอุตสาหกรรมระดับอาเซียน
    การพัฒนาด้านทักษะวิชาการ
    จัดตั้งศูนย์บริหารเครือข่ายการผลิตและพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา (Center of Vocational Manpower Networking Management: CVM)
    เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้มีคุณภาพและมีความสอดคล้องตามบริบทเชิงพื้นที่ ตรงกับความต้องการกำลังคนของประเทศของอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) และรองรับการเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรม 4.0 โดยพัฒนาใน 4 สาขา ได้แก่
  • สาขาเทคโนโลยีการจัดการฟาร์มและการเก็บเกี่ยวสมัยใหม่
  • สาขาอากาศยานเพื่อการเกษตร
  • สาขาเทคโนโลยีการผลิตเกษตรอุตสาหกรรม
  • สาขาการจัดการคลังสินค้าและกระจายสินค้าเกษตรอุตสาหกรรม
  • ความร่วมมือกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาชั้นนำประเทศจีน
  • ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาและเทคนิคภาคอุตสาหกรรมกว่างซี จัดตั้ง “สถาบันช่างฝีมืออุตสาหกรรมน้ำตาลไทย-จีน” (China-Thailand Institute of Modern Craftsmanship of Sugar Industry)
  • ร่วมกับวิทยาลัยอาชีวศึกษาโปลีเทคนิคไฟฟ้ากว่างซี จัดตั้ง “วิทยาลัยเทคนิคด้านพลังงานไฟฟ้าสมัยใหม่” (Modern Electric Technician College) เพื่อพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน ครู บุคลากร และนักศึกษา ตลอดจนการพัฒนาพนักงานของมิตรผล
  • ความร่วมมือกับสถานประกอบการชั้นนำในประเทศ
  • มิตรผลได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการเครือข่ายที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เพื่อเป็นสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้กับนักศึกษา ได้แก่ บริษัท เรียล โซลูพลัส จำกัด, บริษัท ซีเอ็นเอช อินดัสเทรียล (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท พาวเวอร์ อโกรเทค (ประเทศไทย) จำกัด
  • การพัฒนาด้านทักษะอาชีพ
    พัฒนาสมรรถนะวิชาชีพ 
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนามาตรฐานวิชาชีพแบบเยอรมัน โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะที่สอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ โดยร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น ในการจัดทดสอบสมรรถนะของนักศึกษา
  • พัฒนาสมรรถนะด้านภาษาต่างประเทศ
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนาภาษาอังกฤษ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาทักษะการฟังและการอ่าน ตามมาตรฐานภาษาอังกฤษเทียบเท่า TOEIC
  • พัฒนาสมรรถนะด้านดิจิทัล
  • นักศึกษาได้รับการพัฒนาทักษะด้านฮาร์ดแวร์ การใช้โปรแกรมสำนักงานสำเร็จรูป โดยนักศึกษาที่ผ่านการประเมินและรับรองมาตรฐานต่าง ๆ และร่วมงานกับกลุ่มมิตรผลจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
  • การพัฒนาด้านทักษะชีวิต
    สนับสนุนทุนการศึกษา
  • ตั้งแต่ปี พ.ศ.2564 – พ.ศ.2566 สนับสนุนทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) จำนวน 93 ทุน รวมเป็นเงิน 2,790,000 บาท
  • สนับสนุนทุนการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ตลอดการศึกษา 3 ปี จำนวน 26 ทุน รวมเป็นเงิน 780,000 บาท
  • สนับสนุนงบประมาณเพื่อปรับปรุงระบบสาธารณูปโภค และโครงสร้างพื้นฐานของวิทยาลัย
  • สนับสนุนงบประมาณสำหรับพัฒนาวิทยาลัย จำนวน 389,165 บาท เพื่อใช้สำหรับสร้างลานกีฬา ปรับระบบผลิตน้ำดื่ม/โรงกรองน้ำ และปรับปรุงห้องประชุมของวิทยาลัย
  • สนับสนุนกิจกรรมเสริมหลักสูตรที่บูรณาการกับชุมชน
  • สนับสนุนกิจกรรมนอกห้องเรียน เพื่อสร้างคุณธรรม จริยธรรม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ และบูรณาการกับกิจกรรมในชุมชน