Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ผู้ถือหุ้น, คู่ค้า, ลูกค้าและผู้บริโภค, ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม

การสูญเสียอาหารและขยะอาหารเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของการผลิตตั้งแต่ช่วงของการผลิตในภาคเกษตรจนถึงการบริโภคอาหารของผู้บริโภค กล่าวคือ การสูญเสียอาหาร (Food losses) คือ การลดลงของมวลอาหารในส่วนที่สามารถบริโภคได้และเกี่ยวข้องกับการบริโภคของคนเท่านั้น ที่เกิดขึ้นจากห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ในขั้นตอนของการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป รวมถึงการขนส่งไปยังเป้าหมายปลายทาง ในขณะที่ขยะอาหาร (Food waste) จะเกิดขึ้นในขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การค้าปลีก และการบริโภคขั้นสุดท้าย

มิตรผลในฐานะของผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก จึงให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยบริษัทตระหนักดีว่า การสูญเสียอาหารและขยะอาหารแสดงให้เห็นถึงการลงทุนที่สูญเปล่าในเชิงธุรกิจ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร อาทิ ทรัพยากรน้ำ พื้นที่การเพาะปลูก และแรงงานโดยไม่เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย ดังนั้นการลดปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งจะส่งผลดีต่อสภาพอากาศของโลก พื้นที่การเพาะปลูก และปริมาณทรัพยากรที่จะถูกใช้ไปอย่างมีประโยชน์มากขึ้น

เป้าหมายและผลการดำเนินงานของปี 2566

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย
0.17 ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย
0.18 ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย

แนวทางการบริหารจัดการ

มิตรผลมุ่งมั่นในการเป็นโรงงานน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงในระดับโลก จึงได้ออกนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร* อีกทั้งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการ การสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร มีความสอดคล้องกับหลักการ การผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าไว้ดังนี้

การลดการสูญเสียน้ำตาลก่อนนำอ้อยเข้าหีบ

การขนส่งอ้อยเข้าโรงงานหรือระบบโลจิสติกส์อ้อยรถตัด เป็นการบริหารจัดการการขนส่งของอ้อย ตั้งแต่อ้อยอยู่ที่ไร่จนถึงโรงงานน้ำตาล เพื่อควบคุมระยะเวลาจากการตัดอ้อยถึงหีบอ้อย (Cut to Crush) ให้รวดเร็วที่สุด หรือไม่เกิน 8 ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติอยู่ที่ 4-6 ชั่วโมง หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ โดยบริษัทได้นำระบบ GPS Tracking มาใช้จับพิกัดรถขนส่งอ้อย ทำให้สามารถบริหารจัดการทั้งเส้นทางที่ใกล้ที่สุดและไม่ให้รถขนส่งอ้อยจอดรอแบบไม่เกิดประโยชน์เพื่อให้ได้วัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพ ช่วยรักษาความสด น้ำหนัก และค่าความหวานหรือ ซี.ซี.เอส. ของอ้อย ทำให้ลดการสูญเสียน้ำตาลไปอย่างเปล่าประโยชน์ และทำให้ชาวไร่ได้ราคาอ้อยที่ดีขึ้น

การลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต

จัดทำฐานข้อมูลการสูญเสียอาหารในรูปของน้ำตาลให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายโดยเก็บข้อมูลและติดตามปริมาณน้ำตาลที่สูญเสียไปกับชานอ้อย กากหม้อกรอง โมลาส และความสูญเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น การรั่วไหล การสูญเสียซูโครสด้วยจุลินทรีย์ และความร้อน การสูญเสียไปกับน้ำเสีย เป็นต้น แบบทันทีทันใด (Real time) ผ่านการรายงานผลบนแดชบอร์ด (Dashboard) เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โดยมีผังการสูญเสียน้ำตาลเป็นดังนี้

Loss Diagram ของการเกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย
ในกระบวนการผลิตน้ำตาลดิบ
ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

การลดการสูญเสียน้ำตาลจากการขนส่ง

  1. การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการขนส่งและเก็บรักษา รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการปิดผนึกบรรจุภัณฑ์อย่างมิดชิด เพื่อป้องกันการรั่วซึมหรือการเสียหายของน้ำตาลในระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ โดยบริษัทได้ส่งเสริมให้คู่ค้าบรรจุภัณฑ์ทุกรายจะต้องได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพหรือนำระบบประกันคุณภาพไปประยุกต์ใช้ อาทิ ISO 9001 GHP และ HACCP นอกจากนี้ บริษัทยังจัดให้มีการตรวจสอบและทดสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

  2. การฝึกอบรมพนักงานขนส่งเกี่ยวกับวิธีการขนส่งที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียระหว่างการขนส่ง

  3. การใช้ระบบการจัดการขนส่งที่ทันสมัยและการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เช่น การติดตามการขนส่งด้วย GPS เพื่อให้สามารถตรวจสอบและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
พ.ศ.2563
พ.ศ.2564
พ.ศ.2565
พ.ศ.2566
เป้าหมาย พ.ศ.2566
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย
0.263
0.222
0.196
0.18
0.17

หน่วย: ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย

นโยบายที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

Mitr Phol Group Sustainability
Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.