Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ผู้ถือหุ้น, คู่ค้า, ลูกค้าและผู้บริโภค, ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม

การสูญเสียอาหารและขยะอาหารเกิดขึ้นได้ทุกขั้นตอนของการผลิตตั้งแต่ช่วงของการผลิตในภาคเกษตรจนถึงการบริโภคอาหารของผู้บริโภค กล่าวคือ การสูญเสียอาหาร (Food losses) คือ การลดลงของมวลอาหารในส่วนที่สามารถบริโภคได้และเกี่ยวข้องกับการบริโภคของคนเท่านั้น ที่เกิดขึ้นจากห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่ในขั้นตอนของการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยวผลผลิต การแปรรูป รวมถึงการขนส่งไปยังเป้าหมายปลายทาง ในขณะที่ขยะอาหาร (Food waste) จะเกิดขึ้นในขั้นสุดท้ายของห่วงโซ่อุปทาน ได้แก่ การค้าปลีก และการบริโภคขั้นสุดท้าย

มิตรผลในฐานะของผู้ผลิตอาหารชั้นนำของโลก จึงให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร โดยบริษัทตระหนักดีว่า การสูญเสียอาหารและขยะอาหารแสดงให้เห็นถึงการลงทุนที่สูญเปล่าในเชิงธุรกิจ ซึ่งทำให้เกิดการสูญเสียทรัพยากร อาทิ ทรัพยากรน้ำ พื้นที่การเพาะปลูก และแรงงานโดยไม่เกิดประโยชน์ อีกทั้งยังเป็นแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจกอันสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย ดังนั้นการลดปริมาณอาหารที่ถูกทิ้งจะส่งผลดีต่อสภาพอากาศของโลก พื้นที่การเพาะปลูก และปริมาณทรัพยากรที่จะถูกใช้ไปอย่างมีประโยชน์มากขึ้น

เป้าหมายและผลการดำเนินงานของปี 2566

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย
0.17 ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย
0.18 ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย

แนวทางการบริหารจัดการ

มิตรผลมุ่งมั่นในการเป็นโรงงานน้ำตาลที่มีประสิทธิภาพการผลิตสูงในระดับโลก จึงได้ออกนโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร* อีกทั้งได้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้กับพนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารจัดการ การสูญเสียอาหาร และขยะอาหาร มีความสอดคล้องกับหลักการ การผลิต และการบริโภคอย่างยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าไว้ดังนี้

การลดการสูญเสียน้ำตาลก่อนนำอ้อยเข้าหีบ

การขนส่งอ้อยเข้าโรงงานหรือระบบโลจิสติกส์อ้อยรถตัด เป็นการบริหารจัดการการขนส่งของอ้อย ตั้งแต่อ้อยอยู่ที่ไร่จนถึงโรงงานน้ำตาล เพื่อควบคุมระยะเวลาจากการตัดอ้อยถึงหีบอ้อย (Cut to Crush) ให้รวดเร็วที่สุด หรือไม่เกิน 8 ชั่วโมง ซึ่งโดยปกติอยู่ที่ 4-6 ชั่วโมง หลังเก็บเกี่ยวเสร็จ โดยบริษัทได้นำระบบ GPS Tracking มาใช้จับพิกัดรถขนส่งอ้อย ทำให้สามารถบริหารจัดการทั้งเส้นทางที่ใกล้ที่สุดและไม่ให้รถขนส่งอ้อยจอดรอแบบไม่เกิดประโยชน์เพื่อให้ได้วัตถุดิบในการผลิตน้ำตาลที่มีคุณภาพ ช่วยรักษาความสด น้ำหนัก และค่าความหวานหรือ ซี.ซี.เอส. ของอ้อย ทำให้ลดการสูญเสียน้ำตาลไปอย่างเปล่าประโยชน์ และทำให้ชาวไร่ได้ราคาอ้อยที่ดีขึ้น

การลดการสูญเสียน้ำตาลในกระบวนการผลิต

จัดทำฐานข้อมูลการสูญเสียอาหารในรูปของน้ำตาลให้สอดคล้องกับข้อกำหนดสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายโดยเก็บข้อมูลและติดตามปริมาณน้ำตาลที่สูญเสียไปกับชานอ้อย กากหม้อกรอง โมลาส และความสูญเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ เช่น การรั่วไหล การสูญเสียซูโครสด้วยจุลินทรีย์ และความร้อน การสูญเสียไปกับน้ำเสีย เป็นต้น แบบทันทีทันใด (Real time) ผ่านการรายงานผลบนแดชบอร์ด (Dashboard) เพื่อวิเคราะห์และพัฒนาปรับปรุงแผนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ โดยมีผังการสูญเสียน้ำตาลเป็นดังนี้

Loss Diagram ของการเกิดการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายจากอ้อย
ในกระบวนการผลิตน้ำตาลดิบ
ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์

การลดการสูญเสียน้ำตาลจากการขนส่ง

  1. การเลือกใช้วัสดุบรรจุภัณฑ์ที่มีคุณภาพสูง ทนทานต่อการขนส่งและเก็บรักษา รวมถึงการใช้เทคโนโลยีในการปิดผนึกบรรจุภัณฑ์อย่างมิดชิด เพื่อป้องกันการรั่วซึมหรือการเสียหายของน้ำตาลในระหว่างการขนส่งและการจัดเก็บ โดยบริษัทได้ส่งเสริมให้คู่ค้าบรรจุภัณฑ์ทุกรายจะต้องได้รับการรับรองระบบประกันคุณภาพหรือนำระบบประกันคุณภาพไปประยุกต์ใช้ อาทิ ISO 9001 GHP และ HACCP นอกจากนี้ บริษัทยังจัดให้มีการตรวจสอบและทดสอบคุณภาพของบรรจุภัณฑ์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์ที่ใช้สามารถปกป้องผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม

  2. การฝึกอบรมพนักงานขนส่งเกี่ยวกับวิธีการขนส่งที่ถูกต้องและปลอดภัย เพื่อลดความเสี่ยงของการสูญเสียระหว่างการขนส่ง

  3. การใช้ระบบการจัดการขนส่งที่ทันสมัยและการวางแผนเส้นทางการขนส่งที่มีประสิทธิภาพ เช่น การติดตามการขนส่งด้วย GPS เพื่อให้สามารถตรวจสอบและจัดการกับปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร

การสูญเสียอาหารและขยะอาหาร
พ.ศ.2563
พ.ศ.2564
พ.ศ.2565
พ.ศ.2566
เป้าหมาย พ.ศ.2566
ปริมาณการสูญเสียอาหารและขยะอาหารทั้งหมดต่อปริมาณน้ำตาลที่ขาย
0.263
0.222
0.196
0.18
0.17

หน่วย: ตัน/ตันน้ำตาลที่ขาย

นโยบายที่เกี่ยวข้อง

นโยบายด้านการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร