Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก: ผู้ถือหุ้น, ลูกค้าและผู้บริโภค, พนักงาน, ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม

มิตรผลตระหนักดีว่า พนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าและเป็นผู้ขับเคลื่อนองค์กรไปสู่เป้าหมาย การเตรียมความพร้อมในเรื่องการบริหารจัดการพนักงานให้รับมือกับสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างทันท่วงทีจึงเป็นเรื่องสำคัญ อีกทั้งบริบททางสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาอย่างรวดเร็ว เราจึงต้องปรับเปลี่ยนองค์กรให้มีรูปแบบที่คล่องตัว หรือเรียกว่า Agile Organization เพื่อให้สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วได้อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งปลูกฝังองค์ความรู้ ความสามารถ และการทำงานแบบ MITR Beyond ให้บุคลากรของมิตรผลสามารถนำพาองค์กรให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน (Cultivating for All)

นอกจากนี้การดูแลสังคมและสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมก็เป็นส่วนสำคัญที่จะให้องค์กรเติบโตและขับเคลื่อนไปได้ หากในการทำงานมีการให้เกียรติ ยอมรับในความแตกต่าง และเคารพซึ่งกันและกัน ก็จะช่วยเปิดโอกาสให้พนักงานเกิดการมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดอย่างสร้างสรรค์ สามารถส่งมอบงานและสร้างคุณค่าให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย

เป้าหมายและผลการดำเนินงานของปี 2566

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
คะแนนความผูกพันของพนักงาน
4/5
(คิดเป็นร้อยละ 80)
4.38/5
(คิดเป็นร้อยละ 87.6)
สัดส่วนต้นทุนแรงงานต่อค่าใช้จ่ายทั้งหมด
ร้อยละ 6.01
(ลดลงหรือเท่ากับปี พ.ศ. 2565)
ร้อยละ 5.82
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Human Capital Return on Investment

แนวทางการบริหารจัดการ

กลยุทธ์การบริหารจัดการพนักงาน

มิตรผลจัดทำกลยุทธ์การบริหารจัดการพนักงานให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลง เพื่อสนับสนุนความสำเร็จขององค์กรได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยได้ปรับแนวทางการทำงานให้มีความคล่องตัวมากขึ้นหรือเรียกว่า Agile Organization เพื่อให้สามารถตอบสนองการทำงานได้อย่างทันท่วงที ผ่านกิจกรรมต่างๆ พร้อมทั้งสร้างความเข้าใจและปลูกฝัง Agile Mindset ให้กับพนักงาน เพื่อสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน โดยยึดหลักสำคัญ 4 ข้อ ได้แก่

การร่วมมือกันในการทำงาน

ยึดผลลัพธ์ที่ใช้งานได้จริง

การทำงานที่ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้า

เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและสามารถปรับเปลี่ยนการทำงานได้

ซึ่งแต่ละกลุ่มธุรกิจได้จัดตั้งทีม Agile ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจเรื่อง Agile ผ่านการปฏิบัติ และการแบ่งปันประสบการณ์การลงมือทำจริงจากสมาชิกในโครงการ รวมถึงการนำเครื่องมือในการตั้งเป้าหมายและกำหนดตัววัดผล (Objective and Key Results: OKRs) มาใช้ เพื่อเชื่อมโยงเป้าหมายของธุรกิจกับผลลัพธ์ของโครงการ โดยโครงการมุ่งหวังผลลัพธ์ ดังนี้
  1. เกิดการพัฒนาวิธีการและกระบวนการทำงาน เพื่อช่วยลดขั้นตอนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Process Improvement) ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น
  2. เกิดการคิดค้นพัฒนา สินค้าและบริการใหม่ (New Product and Services) เพื่อสร้างโอกาสและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับกลุ่มมิตรผล
  3. ลดต้นทุน หรือลดของเสียในการผลิตให้น้อยลง (Reduce Loss and Waste)
  4. แสวงหาโอกาสในการต่อยอด ขยาย หรือสร้างธุรกิจใหม่ให้กลุ่มมิตรผล (Seek New Business Opportunity)
 
ทั้งนี้มีพนักงานเข้าร่วมในโครงการคิดเป็นร้อยละ 9.55 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด และในปี พ.ศ. 2566 มีจำนวน Agile Project ที่เกิดขึ้นจากทุกกลุ่มธุรกิจ รวมทั้งสิ้น 73 โครงการ โดยผลการดำเนินโครงการสามารถลดต้นทุนได้ 149 ล้านบาท และเพิ่มรายได้ 2,072 ล้านบาท

แผนพัฒนาศักยภาพพนักงาน

หลักสูตร MITR Beyond Reskill –Upskill –Future Skill

หลักสูตรที่ช่วยพัฒนาทักษะต่างๆ ซึ่งเน้นพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำ ความรู้ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล ความรู้ด้านกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และความรู้ด้านความยั่งยืน ให้กับพนักงานและผู้บริหารของกลุ่มมิตรผลทุกระดับ โดยการเรียนรู้ผ่าน Mitr Phol Learning Digital Platform ซึ่งภายหลังการเรียนรู้ จะมีการวัดผลด้วยการทดสอบความรู้หลังเรียน สรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ รวมถึงการประยุกต์ความรู้ที่ได้รับในการทำงานและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่าน Learning Community

หลักสูตร Mitr Phol Transformational Leadership Program (MTLP) 2023

หลักสูตรการเรียนรู้ผ่านการสร้างประสบการณ์จริงจากการลงมือปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดึงศักยภาพสู่การเป็นผู้ Future Leader ตามสมรรถนะผู้นำ (Mitr Phol Leadership Competency) และเสริมสร้าง Growth Mindset ให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลง นอกจากนี้ ยังพัฒนาวิธีคิดและวิธีการของการเป็นผู้นำในการสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืน เพื่อสนับสนุนสร้างความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมกับผู้มีส่วนได้เสียที่สนับสนุนกลยุทธ์ของกลุ่มมิตรผล ซึ่งเน้นการพัฒนาในรูปแบบการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning) ด้วย 3 รูปแบบการเรียนรู้ที่จะทำให้พนักงานได้รู้ลึก รู้จริง ลงมือทำจริง และก้าวสู่การเป็นผู้นำอย่างแท้จริง ได้แก่

หลักสูตร MTLP ตามกลุ่มเป้าหมายของพนักงาน

โดยในปี พ.ศ. 2566 มีพนักงานเข้าร่วมหลักสูตรจำนวน 187 คน (คิดเป็นร้อยละ 3.97 ของจำนวนพนักงานทั้งหมด) มีไอเดียภายใต้โครงการทั้งหมด 21 ไอเดีย ซึ่งหากสามารถดำเนินการให้สำเร็จตามเป้าหมาย จะสามารถช่วยสร้างรายได้ หรือลดค่าใช้จ่ายให้แก่องค์กรได้

โครงการพัฒนาผู้นำ People Capability Development 2023

หลักสูตรที่มุ่งพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำตามบทบาทในแต่ละระดับ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถอย่างเหมาะสม ส่งเสริมการทำงานร่วมกันในทีมและสร้างสภาพแวดล้อมทำงานที่ดีขึ้นทั้งในด้านบุคลากรและผลการดำเนินงานขององค์กร นำไปสู่การบริหารทรัพยากรและยกระดับการบริหารงานในหน่วยงานให้เกิดประสิทธิภาพ มี 3 หลักสูตร ได้แก่

โครงการ MITR Beyond Innovation Awards 2023

มิตรผลจัดการแข่งขันสุดยอดผลงานนวัตกรรม Mitr Beyond Innovation Awards เพื่อส่งเสริมการพัฒนาด้านนวัตกรรม ซึ่งเป็นหนึ่งในวัฒนธรรม MITR Beyond ของมิตรผล เพื่อให้พนักงานกล้าที่จะพัฒนา กล้าคิด กล้าทำสิ่งใหม่ ในปี 2566 มีพนักงานส่งผลงานเข้าร่วมทั้งหมด 418 ผลงาน จากทุกกลุ่มธุรกิจ โดยการแข่งขันถูกจัดออกเป็น 2 รอบ ได้แก่ รอบ Transformation Idea และรอบ Champ of the Champs โดยรางวัลจะมอบให้กับโครงการที่สามารถพัฒนากระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพ พัฒนาสินค้าและบริการรูปแบบใหม่ รวมถึงการพัฒนาธุรกิจใหม่ในกลุ่มมิตรผล เพื่อสร้างคุณค่าและการเติบโตให้กับองค์กรได้อย่างยั่งยืน

การบริหารความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความมีส่วนร่วม

มิตรผลให้ความสำคัญกับความหลากหลาย ความเท่าเทียม และความมีส่วนร่วมของพนักงาน จึงได้กำหนดแนวทางการปฏิบัติต่อพนักงานทุกคนอย่างเท่าเทียมไว้ในจรรยาบรรณพนักงาน และนโยบายด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค การมีส่วนร่วม สำหรับให้คณะกรรมการบริษัท ผู้บริหาร และพนักงานของมิตรผลยึดถือและปฏิบัติตาม โดยบุคลากรมิตรผลต้องได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกัน มีความเคารพในเกียรติและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงเชื้อชาติ ศาสนา ความเชื่อ เพศ อายุ พื้นเพที่อยู่ สถานภาพ ความพิการ สถานศึกษา หรือสถานะอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน รวมถึงการไม่ยอมรับการล่วงละเมิดหรือคุกคามผู้อื่นทั้งทางร่างกายและจิตใจ ด้วยการกระทำ วาจา และการแสดงออกทุกรูปแบบ เพื่อให้บุคลากรมิตรผลมีความสุขในการทำงานและมีความภาคภูมิใจในมิตรผล

การสนับสนุนผู้ทุพพลภาพ

มิตรผลให้ความสำคัญกับผู้ทุพพลภาพที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบโรงงาน ด้วยการจ้างงานบุคลากรในท้องถิ่นเข้าทำงานในโรงงานและจ่ายผลตอบแทนให้สอดคล้องกับอัตราค่าตอบแทนพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด ช่วยสร้างงาน สร้างอาชีพ และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนในชุมชน ส่งผลให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีกับชุมชน โดยมิตรผลจ้างพนักงานทุพพลภาพในชุมชนผ่านโครงการชุมชนเข้มแข็งด้วยแรงผู้พิการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้พิการได้ทำงานในสถานที่ใกล้บ้าน สร้างรายได้ของผู้พิการในชุมชนให้สามารถช่วยเหลือและพึ่งพาตนเองได้ รวมถึงสนับสนุนให้เกิดการรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นชมรมผู้พิการเพื่อขยายผลสร้างอาชีพให้ผู้พิการคนอื่นๆ ในตำบล โดยในปี พ.ศ.2566 มีการจ้างงานผู้พิการ รวมทั้งสิ้น 64 คน แบ่งเป็นผู้ที่เข้าทำงานในองค์กร 18 คน และทำงานในชุมชน 46 คน

มิตรผลได้รับรางวัลองค์กรที่สนับสนุนด้านคนพิการ ประจำปี พ.ศ.2566 ระดับ "ดีเยี่ยม"

จากกรมส่งเสริมพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มอบให้แก่ องค์กรที่สนับสนุนงานด้านคนพิการอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

การจัดสรรสวัสดิการ

มิตรผลมุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีของพนักงานทุกคน เพื่อให้เกิดความสมดุลในการปฏิบัติงานและการใช้ชีวิตส่วนตัว บริษัทจึงดำเนินการจัดตั้งคณะกรรมการสวัสดิการแรงงานในสถานประกอบการ ซึ่งมีพนักงานที่เป็นตัวแทนพนักงานที่ได้มาจากการเลือกตั้งเข้าทำหน้าที่เป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดความต้องการด้านสวัสดิการของพนักงานให้บริษัทได้รับทราบ และร่วมให้ข้อเสนอแนะ ตรวจสอบ ดูแลการจัดสวัสดิการของบริษัท ซึ่งมีการจัดสรรสวัสดิการและสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากสวัสดิการพื้นฐานตามกฎหมายกำหนดให้แก่พนักงานทุกคนอย่างไม่เลือกปฏิบัติ ดังนี้

ด้านการเงิน

  • เงินช่วยเหลือต่างๆ อาทิ ทุนการศึกษาเล่าเรียนของบุตร เงินค่าเช่าบ้าน เงินช่วยเหลืองานสมรสและงานศพ
  • กองทุน อาทิ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนเงินยืม
  • สิทธิประโยชน์บัตรพนักงาน ด้วยการมอบส่วนลดค่าที่พักของโรงแรมในเครือที่บริษัทกำหนดไว้

  • ด้านสุขภาพ

  • การตรวจสุขภาพประจำปี และการให้บริการรักษาพยาบาลภายในอาคารปฏิบัติงาน
  • การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล กรณีเข้ารับการรักษาทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงการช่วยเหลือวงเงินเพิ่มเติมสำหรับการรักษาในกลุ่มโรคร้ายแรง
  • การเบิกจ่ายค่าทันตกรรมและค่าฉีดวัคซีนป้องกันโรคพื้นฐาน ได้แก่ ไวรัสตับอักเสบบี และ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
  • การสนับสนุนการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆ โดยจัดให้มีสถานที่ออกกำลังกาย (Fitness center) ภายในสำนักงานใหญ่ และสนามกีฬาสำหรับพนักงานในโรงงาน
  • สิทธิประโยชน์บัตรพนักงาน ด้วยการมอบส่วนลดกรณีเข้ารับการรักษาทั้งประเภทผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน รวมถึงค่าทันตกรรม ในโรงพยาบาลที่บริษัทกำหนดไว้ เพื่อแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลของพนักงาน

  • ด้านครอบครัวของพนักงาน

  • พนักงานหญิงที่ตั้งครรภ์สามารถลาคลอดได้ 98 วัน โดยพนักงานจะได้รับค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ลา 45 วัน รวมถึงมีบริการห้องให้นมบุตร
  • การเบิกค่ารักษาพยาบาลสำหรับครอบครัวของพนักงาน กรณีเข้ารับการรักษาประเภทผู้ป่วยนอก
  • บริการรถรับส่งบุตรของพนักงาน สำหรับการเดินทางไป-กลับระหว่างโรงเรียนและบ้านพักพนักงาน
  • สนับสนุนค่าเล่าเรียนสำหรับบุตรพนักงาน ในระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)/อนุปริญญา และระดับปริญญาตรี
  • กำหนดเงื่อนไขการลาเพื่อให้พนักงานสามารถดูแลและอยู่ร่วมกับครอบครัวในช่วงเวลาสำคัญๆ ได้ เช่น ลาแต่งงาน (ไม่กำหนดเพศ) ลาเพื่อดูแลคู่สมรสระหว่างคลอดบุตร และลาเพื่อจัดงานศพ

  • สวัสดิการอื่นๆ

  • เวลาการปฏิบัติงานแบบยืดหยุ่น (Flexible working hours) โดยพนักงานสามารถเลือกเวลาเข้าทำงานได้ตั้งแต่ช่วงเวลา 7.30 น. จนถึง 9.30 น. เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถบริหารจัดการเวลาได้อย่างเหมาะสม
  • สวัสดิการสำหรับพนักงานเกษียณอายุ ได้แก่
    • จัดอบรมวางแผนการเงินก่อนการเกษียณอายุ เพื่อการใช้ชีวิตหลังเกษียณได้อย่างมีสุข
    • ดูแลด้านจิตใจและสังคม ด้วยการจัดกิจกรรมให้มีการพบปะสังสรรตามโอกาสอันสมควร
    • ดูแลสุขภาพ ด้ายการจัดเงินช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลต่อเนื่องอีก 2 ปี นับจากวันที่เกษียณ
    • ดูแลความมั่นคงในชีวิต ด้วยการจัดทำประกันชีวิตและประกันอุบัติเหตุให้ต่อเนื่องอีก 2 ปีนับจากวันที่เกษียณ
  • การประเมินและปรับปรุงโครงสร้างค่าตอบแทน (Salary Structure) และอัตราค่าตอบแทนเริ่มต้น (Starting Rate) พร้อมทั้งพิจารณาให้เงินช่วยเหลือค่าครองชีพ (Cost of Living Allowance) เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายของพนักงานให้เพียงพอต่อการดำรงชีวิตของพนักงาน (Living Wage)

  • บริษัทภายใต้มิตรผล จำนวน 11 แห่ง ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปีพ.ศ. 2566

    (Thailand Labour Management Excellence Award 2023) จัดโดยกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน มอบให้กับองค์กรที่มีระบบการบริหารจัดการที่ดี ด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการเสริมสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีในสถานประกอบการ

    กิจกรรรมส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงาน

    • กิจกรรม “ZUMBA CLASS” ส่งเสริมการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอด้วยการเต้น โดยครูสอนเต้นจาก Live in Motion Group เพื่อสร้างความสนุกสนาน สร้างความผ่อนคลายทางอารมณ์ และขจัดความเครียดจากการทำงาน
    • กิจกรรม “3 สถานีสุขภาพดีของชาวมิตรผล รู้เท่าทัน รู้ป้องกัน โรค NCDs” อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรค NCDs และการแบ่งปันประสบการณ์การดูแลสุขภาพจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้พนักงานดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างถูกต้อง
    • กิจกรรม “รู้ทันก่อน…ซึมเศร้า” อบรมให้ความรู้พนักงานเกี่ยวกับภาวะ Burnout Syndrome: การรับมือและต่อยอดความคิดเพื่อใช้ชีวิตอย่างมีความสุข โดยจิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
    • ประสานความร่วมมือกับโรงพยาบาล บริการจัดฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่และไวรัสตับอักเสบบีให้กับพนักงานในราคาพิเศษ
    • การประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์

    การบริหารจัดการค่าจ้างและค่าตอบแทน

    • การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหาร บริษัทกำหนดแนวทาง หลักเกณฑ์ วิธีการ กระบวนการที่มีประสิทธิผลในการประเมินผลงานและจ่ายค่าตอบแทนของผู้บริหาร ไว้อย่างชัดเจน โปร่งใส เชื่อมโยงกับทิศทาง เป้าหมาย ผลการดำเนินงานของบริษัททั้งในระยะสั้นและระยะยาว และผลการปฏิบัติงานรายบุคคล โดยคณะกรรมการพัฒนาองค์กรและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้พิจารณาค่าตอบแทนของผู้บริหารสำหรับผู้บริหารระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มงานขึ้นไป
    • การกำหนดค่าตอบแทนพนักงาน บริษัทจ่ายค่าตอบแทนแก่พนักงานอย่างเป็นธรรม ขึ้นกับผลการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคน โดยมีคณะจัดการด้านทรัพยากรบุคคล และคณะกรรมการพัฒนาองค์กรและกำหนดค่าตอบแทนเป็นผู้ให้ความเห็นชอบนโยบายการจ่ายค่าตอบแทน สวัสดิการ หรือผลประโยชน์ในลักษณะอื่นๆ ให้มีความจูงใจ แข่งขันได้ในอุตสาหกรรม บริษัทได้ดำเนินการปรับขึ้นค่าจ้างและค่าตอบแทนสำหรับพนักงานทุกคนเป็นประจำทุกปี โดยพิจารณาจากผลประกอบการของธุรกิจ สภาพเศรษฐกิจ และมาตรฐานค่าครองชีพ (Living wage) และผลการปฏิบัติงานรายบุคคล เพื่อให้แน่ใจว่าพนักงานจะได้รับค่าจ้างและค่าตอบแทนที่เป็นธรรมและเพียงพอต่อการดำรงชีวิต เป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ตลอดจนเพื่อรักษาบุคลากรที่มีความสามารถให้อยู่กับองค์กร ซึ่งในปี พ.ศ.2566 บริษัทได้ทำการประเมินและปรับปรุงโครงสร้างค่าจ้าง (Salary Structure) และอัตราค่าตอบแทนเริ่มต้น (Starting Rate) เพื่อให้แข่งขันได้ในตลาดแรงงาน สอดคล้องกับอัตราค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น และช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายให้กับพนักงานได้อย่างทั่วถึง

    นอกจากนี้เพื่อให้แน่ใจว่ายุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจคำนึงถึงปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล บริษัทจึงได้กำหนดตัวชี้วัด เพื่อใช้ในการประเมินผลงานประจำปีของผู้บริหารระดับสูงและพนักงานที่เกี่ยวข้อง และช่วยสะท้อนผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนขององค์กร โดยการจ่ายค่าตอบแทนจะเชื่อมโยงกับ Key Performance Indicator 2 ประเภทหลัก คือ

    • Value Creation Performance จะถูกนำมาใช้วัดผลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายขององค์กรในปีปัจจุบัน
    • Key Future Value Drivers จะถูกนำมาใช้วัดผลการดำเนินงานที่เชื่อมโยงกับการเติบโตอย่างยั่งยืนของธุรกิจในอนาคต โดยน้ำหนักของแต่ละเป้าหมายจะแตกต่างกันไปตามหน้าที่และความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยธุรกิจและหน่วยงาน

    กิจกรรมส่งเสริมความผูกพันของพนักงาน

    กลุ่มมิตรผลเชื่อมั่นว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า จึงให้ความสำคัญกับการพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการทำงานและการสร้างความผูกพัน โดยจัดให้มีการทำแบบสำรวจความผูกพันพนักงานเป็นประจำทุกปี เพื่อนำผลการสำรวจที่ได้มาวิเคราะห์ พัฒนา และปรับปรุงแนวทางการดูแลพนักงานให้ตอบโจทย์การทำงานในยุคปัจจุบันมากยิ่งขึ้น โดยคำถามที่ใช้ในการสำรวจความผูกพันพนักงาน แบ่งออกเป็น 4 หมวด

    กิจกรรมส่งเสริมความผูกพันพนักงานที่ได้ดำเนินการในปี พ.ศ.2566  มีดังนี้
    1. การสื่อสารกลยุทธ์และทิศทางบริษัท เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับพนักงาน ได้ทราบถึงเป้าหมายของบริษัทอย่างชัดเจน และเชื่อมโยงกับการทำงาน ผ่านกิจกรรม “CEO Town Hall”
    2. สนับสนุนและส่งเสริมการให้ Performance Feedback and Recognition เพื่อพัฒนาการทำงานและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในทีม
    3. พัฒนาความรู้ความเข้าใจและสนับสนุนการทำ Performance Feedback ผ่าน Conversation Feedback and Recognition (CFR) ส่งเสริมวิธีการนำ CFR ไปเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและทำให้ OKRs ประสบความสำเร็จ
    4. กิจกรรม “Productivity Hacks Sharing” อบรมให้ความรู้เรื่องการทำงานและใช้ชีวิตให้มีประสิทธิภาพและมีความสุข เพื่อให้พนักงานได้เรียนรู้มุมมอง วิธีคิดในการทำงาน การพัฒนาตนเอง รวมถึงการตั้งเป้าหมายและออกแบบชีวิตให้ประสบความสำเร็จ

    ผลสำรวจความผูกพันของพนักงานในปี พ.ศ.2566

    การบริหารผลการปฏิบัติงานของพนักงาน

    การบริหารผลการปฏิบัติงานเป็นหนึ่งในกระบวนการสำคัญที่ช่วยให้เป้าหมายขององค์กร ของหน่วยงาน และของบุคคลสำเร็จตามที่กำหนดร่วมกัน ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการตั้งเป้าหมายการปฏิบัติงาน การติดตามความคืบหน้าของการปฏิบัติงาน และการประเมินผลการปฏิบัติงาน กลุ่มมิตรผลได้นำระบบ Digital and Technology เข้ามาปรับใช้สนับสนุนการบริหารผลการปฏิบัติงาน เพื่อประเมินประสิทธิภาพการทำงาน พัฒนาความสามารถ และวางแผนความก้าวหน้าทางอาชีพแก่พนักงาน ผ่านการมีส่วนร่วมระหว่างหัวหน้างานและพนักงาน โดยมุ่งเน้นที่การเชื่อมโยงความสำเร็จในการปฏิบัติงานของพนักงานแต่ละคนเข้ากับเป้าหมายของหน่วยงานและบริษัทตามแนวทาง ดังนี้

    การตั้งเป้าหมายในการปฏิบัติงาน (Goal Setting)

    ในการตั้งเป้าหมายจะเริ่มต้นจากเป้าหมายใหญ่ขององค์กร นำกลยุทธ์ขององค์กรมาแปลงเป็นกลยุทธ์และเป้าหมายของหน่วยงาน และนำมาแปลงเป็นเป้าหมายและตัวชี้วัด (KPI) ของพนักงาน โดยในช่วงต้นปี ผู้บริหารในแต่ละระดับมีบทบาทในการสื่อสารเป้าหมาย วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ขององค์กรและของหน่วยงานมายังพนักงาน เพื่อนำมาร่วมกันกำหนดเป้าหมายในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของหน่วยงานและขององค์กร รวมถึงกำหนดแผนการปฏิบัติงาน หน้าที่ความรับผิดชอบของพนักงาน คาดคาดหวังในเรื่องผลงาน และพฤติกรรมในการทำงานที่ชัดเจน

    การติดตามความคืบหน้าการปฏิบัติงาน (Performance Monitoring)

    เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความต่อเนื่องและสะท้อนผลลัพธ์ไปยังเป้าหมายของหน่วยงานและบริษัท หัวหน้างานจึงต้องมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของพนักงานอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ โดยการร่วมพูดคุย ติดตาม และให้คำแนะนำหรือ Feedback รวมถึงทบทวนแผนงานเพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินงานสอดคล้องกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งนี้ หัวหน้างานจะร่วมกับพนักงานกำหนดช่วงเวลาในการประชุม Check-in ประจำสัปดาห์เพื่ออัพเดทความคืบหน้าในงาน รวมถึงเรื่องที่ต้องการขอการสนับสนุนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานในการปฏิบัติงาน

    การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance review and Evaluation)

    การประเมินผลตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ (Management by objective)

    การประเมินนี้จะจัดขึ้นปีละสองครั้งโดยเทียบกับตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพหลัก (Key Performance Indicators) ตามที่ได้ตกลงกันไว้กับหัวหน้าทีม ซึ่งจะวัดความสำเร็จของแต่ละบุคคลตามแผนกลยุทธ์ของทีม โดยในครึ่งปีแรกบริษัทจะมีการประเมินความสามารถของพนักงานตามวัฒนธรรมมิตรผล ที่เรียกว่า MITR Beyond ซึ่งย่อมาจาก เชี่ยวชาญ (Mastery) นวัตกรรม (Innovation) จริงใจเชื่อถือได้ (Trustworthiness) และไม่ย่อท้อ ต่ออุปสรรค (Resilience) อันเป็นพฤติกรรมที่มิตรผลยึดถือและนำไปสู่การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิผลและบรรลุวัตถุประสงค์

    การประเมินผลโดยใช้ผลการดำเนินงานของทีม (Team-based performance appraisal)

    การประเมินนี้ช่วยให้พนักงานแต่ละคนได้รับการประเมินในฐานะส่วนหนึ่งของทีมมากกว่าการประเมินรายบุคคล โดยบริษัท จะทำการประเมินปีละสองครั้ง โดยเทียบกับ Key Performance Indicators (KPIs) ที่ระบุไว้เพื่อวัดความสำเร็จของทีม ซึ่งตัวชี้วัดนี้ จะมีความสอดคล้องกับแผนกลยุทธ์ของทีมและองค์กร ดังนั้น การประเมินผลรูปแบบนี้ จะช่วยให้สมาชิกในทีมแต่ละคนเข้าใจ ความคาดหวังและสามารถติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการให้บรรลุเป้าหมายระดับบุคคล ทีม และองค์กร

    การประเมินผลแบบ 360 องศา (360-degree feedback)

    การประเมินแบบ 360 องศาจะดำเนินการเป็นประจำทุกปีเพื่อรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ เกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานและแนวทางการปรับปรุงผลงาน ซึ่งแนวทางนี้ช่วยให้แต่ละบุคคลสามารถรับคำติชมจากสมาชิกในทีม เพื่อนร่วมงาน ลูกน้อง ตลอดจนหัวหน้างาน วิธีการนี้ช่วยให้พนักงานแต่ละคนเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองจากมุมมองที่หลากหลายยิ่งขึ้น

    การสนทนาระหว่างหัวหน้างานและผู้ใต้บังคับบัญชา (Agile conversation with team lead)

    การประเมินนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีรูปแบบที่หลากหลาย เช่น การสนทนาแบบตัวต่อตัว การประชุมทีม ฯลฯ ส่งผลให้สมาชิกในทีมได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยหัวหน้างานจะให้ข้อมูลสะท้อนผลการปฏิบัติงาน (Feedback) และการแสดงออกพฤติกรรมด้านการทำงานของพนักงานในช่วงปีที่ผ่านมา และสื่อสารถึงผลลัพธ์ในงานเมื่อเทียบกับเป้าหมาย ซึ่งจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารที่ตรงประเด็น สร้างสรรค์ และให้เกียรติกันและกัน รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็น และแลกเปลี่ยนมุุมมองที่ดีระหว่างกัน เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการทำงานให้ดียิ่งขึ้น

    ผ่านการรับรองให้เป็น Top Employer 2023 in Thailand: นายจ้างดีเด่นประจำประเทศไทย จากสถาบัน Top Employers ประเทศเนเธอร์แลนด์ สะท้อนความโดดเด่นด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลและการดูแลพนักงานเทียบเท่าบริษัทระดับโลก
    มิตรผลได้รับการจัดอันดับสุดยอด 50 องค์กรในฝันที่คนรุ่นใหม่อยากร่วมงานด้วยมากที่สุด (Top 50 Companies in Thailand) (อันดับ 9) จัดโดย WorkVenture สะท้อนมุมมองความคิดของคนรุ่นใหม่ในการเข้าร่วมงานกับองค์กรชั้นนำ และความมุ่งมั่นขององค์กรในการให้ความสำคัญกับการดูแลและพัฒนาบุคลากรอย่างมีประสิทธิภาพ

    นโยบายที่เกี่ยวข้อง

    นโยบายด้านความหลากหลาย ความเสมอภาค การมีส่วนร่วม