Mitr Phol Group Sustainability

Edit Template

ผู้มีส่วนได้เสียหลัก : ผู้ถือหุ้น, คู่ค้า, ลูกค้าและผู้บริโภค, พนักงาน, ภาครัฐและองค์กรภาคประชาสังคม

มิตรผลมีความห่วงใยและใส่ใจในเรื่องความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยกำกับดูแลการดำเนินนโยบาย และมาตรการที่เกี่ยวข้อง เพื่อความปลอดภัยของพนักงาน ชาวไร่ ผู้รับเหมา และผู้ที่เข้ามาใช้พื้นที่การปฏิบัติงานของมิตรผล ด้วยตระหนักดีว่าการการมีอาชีวอนามัยที่ดีและสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยจะช่วยให้พนักงาน ชาวไร่ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง สามารถทำงานได้อย่างมีและส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุ ลดการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน ลดอุบัติภัยร้ายแรง ลดข้อร้องเรียน ลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาลให้กับบริษัทหรือผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆได้

มิตรผลจึงให้ความสำคัญในการบริหารจัดการความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน โดยมีเป้าหมายให้อุบัติเหตุเป็นศูนย์ ภายในปี พ.ศ.2566 ซึ่งนับเป็นความท้าทายที่กลุ่มมิตรผลต้องเผชิญและกำหนดเป็นกลยุทธ์หนึ่ง หากจะบรรลุเป้าหมาย จะต้องได้รับความร่วมมือจากพนักงาน ชาวไร่ ผู้รับเหมา และผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต และทรัพย์สิน

เป้าหมายและผลการดำเนินงานของปี 2566

เป้าหมาย
ผลการดำเนินงาน
โรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวลได้รับการรับรอง ISO 45001
12 แห่ง
12 แห่ง
อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate: LTIFR)  สำหรับพนักงานและผู้รับเหมา
<  0.25 ราย/1 ล้านชั่วโมงการทำงาน
0.95 ราย/1 ล้านชั่วโมงการทำงาน

แนวทางการบริหารจัดการ

มิตรผลให้ความสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงความปลอดภัยและอาชีวอนามัย โดยองค์กรได้รับการรับรองมาตรฐานด้านสุขภาพ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดี ISO45001:2018 ที่กำหนดให้องค์กรต้องมีนโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ที่รับรองการดำเนินนโยบายฯ โดยประธานกรรมการบริษัท และแนวทางการบริหารความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับอาชีวอนามัยและความปลอดภัยสอดคฃ้องการดำเนินธุรกิจของมิตรผล และสื่อความให้พนักงานในองค์กรและผู้เกี่ยวข้องทราบ โดยบริษัทมีการกำหนดโครงสร้างการกำกับดูแลและการบริหารที่ชัดเจนและเหมาะสม โดยมีฝ่ายความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของทั้งส่วนกลางและส่วนโรงงานในแต่ละพื้นที่ ทำหน้าที่รับผิดชอบต่อการบริหารจัดการความปลอดภัยและอาชีวอนามัย และเป็นผู้ขับเคลื่อนการดำเนินงานส่งเสริมความปลอดภัยให้แก่พนักงานและผู้เกี่ยวข้อง

อีกทั้งยังกำหนดให้มีกระบวนการในการบ่งชี้ความเป็นอันตราย การประเมินความเสี่ยงและการสอบสวนอุบัติการณ์เพื่อระบุประเด็นความเสี่ยง (Risk) และโอกาส (Opportunity) ครอบคลุมกระบวนการปฏิบัติงาน กิจกรรม และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการของหน่วยงาน ตลอดจนกิจกรรมในการดำเนินการของผู้รับเหมาที่มีนัยสำคัญต่อหน่วยงาน โดยพิจารณาครอบคลุมทั้งสถานการณ์ปกติ สถานการณ์ไม่ปกติ และสถานการณ์ฉุกเฉิน และกำหนดแผนควบคุมและลดความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ในทุกระดับความเสี่ยงที่มีนัยสำคัญ รวมถึงความเสี่ยงที่เกิดการเปลี่ยนแปลง โดยกำหนดผู้รับผิดชอบในการดำเนินงานและติดตามแผนงานดังกล่าวเป็นระยะ และจะนำผลจากกระบวนการเหล่านี้ไปพัฒนาระบบการบริหารจัดการ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมของกลุ่มมิตรผลต่อไป

ทั้งนี้เพื่อให้มีการบ่งชี้ความเป็นอันตรายและประเมินความเสี่ยงที่เป็นปัจจุบัน จึงต้องทบทวนและปรับปรุงอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงวัตถุดิบ กระบวนการผลิต กิจกรรม เครื่องจักรอุปกรณ์ บุคลากร ที่มีนัยสำคัญ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการชี้บ่งอันตรายและประเมินความเสี่ยงของมิตรผล (MP-QP-8002-017) หากพนักงานหรือผู้บังคับบัญชาพบว่า กิจกรรมหรืองานที่ได้รับมอบหมายได้ปฏิบัตินั้นมีความเสี่ยงหรืออาจก่อให้เกิดการประสบอันตราย การบาดเจ็บ หรือเสียชีวิตมีสิทธิปฏิเสธการปฏิบัติงานและ/ หรือสั่งหยุดการกระทำนั้นได้ทันที และต้องแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบทันทีเพื่อดำเนินการแก้ไข โดยอ้างอิงตามมาตรฐานบทบาทหน้าที่และกฎระเบียบด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของมิตรผล (MP-QP-8002-025) และกรณีที่มีการเกิดอุบัติการณ์ สภาพที่ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดจะมีกระบวนการรายงาน ค้นหาสาเหตุ วิเคราะห์ แนวทางแก้ไขป้องกัน ติดตามผลการแก้ไขเพื่อป้องกันการเกิดขึ้นซ้ำ โดยอ้างอิงตามมาตรฐานการจัดการอุบัติการณ์ของมิตรผล (MP-QP-8002-019)

การสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย

มิตรผลให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรด้านความปลอดภัยและความปลอดภัยและความเท่าทันตระหนักรู้ต่อความเสี่ยงที่อาจะเกิดขึ้น จึงได้ให้มีโครงการต่างๆ เพื่อให้เกิดวัฒนธรรมที่คาดหวังในรูปแบบต่างๆ อาทิ การสื่อความ การอบรม การกำหนดตัวชี้วัด โดยในปี พ.ศ.2566 มีการดำเนินงานด้านความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

โครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสิ่งแวดล้อมในเครือมิตรผล

ในปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา มิตรผลจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม และคัดเลือกวิทยากรประจำศูนย์ฝึกอบรมที่มีคุณสมบัติตามข้อกำหนดของแต่ละหลักสูตร และมีการขึ้นทะเบียนวิทยากรอย่างถูกต้องตามข้อกำหนด สามารถออกใบรับรองหลังฝึกอบรมได้ จากการดำเนินโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกอบรมในเครือมิตรผลนี้ ทำให้พนักงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานได้ตามพื้นฐานที่กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานที่ได้กำหนดไว้ จึงช่วยลดความเสี่ยงการเกิดอุบัติการณ์และอุบัติเหตุในงานได้ นอกจากนี้ยังได้ผลประโยชน์ทางอ้อมอีกทาง คือ ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ภายในมิตรผล โดยหลักสูตรที่เปิดอบรมมีมากกว่า 15 หลักสูตร เช่น หลักสูตรเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับหัวหน้างาน หลักสูตรคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน หลักสูตรการขับรถยกเพื่อความปลอดภัยในการทำงาน (รถฟอร์กลิฟต์) หลักสูตรความปลอดภัยในการทำงานกับสารเคมีอันตราย หลักสูตรผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ ฯลฯ เป็นต้น

โครงการสำรวจวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture Survey)

มิตรผลตระหนักดีว่าการสร้างความปลอดภัยในการทำงานให้แข็งแรงและยั่งยืน เปรียบเสมือนการสร้างบ้านต้องเริ่มจากการสร้างฐานที่แข็งแรงมาก่อน ถึงจะต่อยอดขึ้นข้างบนได้ ดังนั้นพื้นฐานของความปลอดภัยที่แข็งแรงก็คือ การสร้างวัฒธรรมความปลอดภัยของแต่ละธุรกิจในเครือมิตรผลให้ยั่งยืน บริษัทจึงจัดให้มีโครงการสำรวจวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย (Safety Culture Survey) เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติด้านความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงความคิดเห็นของพนักงานต่อการส่งเสริมวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยในแต่ละกลุ่มธุรกิจ

บริษัทได้ทำการสำรวจพื้นฐานด้านความปลอดภัยของพนักงานและผู้บริหารทุกระดับ โดยเริ่มจากธุรกิจเอทานอลและธุรกิจวัสดุทดแทนไม้ในปี พ.ศ.2566 และจะขยายการสำรวจไปยังธุรกิจน้ำตาลและธุรกิจไฟฟ้าในปี 2567 โดยความท้าทายหนึ่งในการทำการสำรวจ คือ การไม่ระบุตัวตนผู้ทำแบบสอบถาม เพื่อให้ทราบข้อมูลที่สะท้อนความเป็นจริงมากที่สุด ดังนั้น จึงต้องอาศัยความร่วมมือและความเชื่อใจจากพนักงานทุกระดับเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน โดยมิตรผลจะนำผลจากการสำรวจมาพัฒนาวัฒนธรรมด้านความปลอดภัยให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มธุรกิจเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน คือ การลดการประสบอันตราย อุบัติเหตุ และการเจ็บป่วยจากการทำงาน และจัดทำเป็นวัฒนธรรมด้านความปลอดภัย ของแต่ละกลุ่มธุรกิจในเครือมิตรผล

การจัดทำโครงการสำรวจวัฒนธรรมความปลอดภัย (Safety Culture Survey)

การขับเคลื่อนสุขภาวะคนทำงานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วม

มิตรผลตระหนักดีว่าสุขภาพของคนทํางานมีผลสําคัญต่อการสร้างผลผลิต การสร้างความก้าวหน้าขององค์กรและสังคมโดยรวม มิตรผลจึงส่งเสริมและสนับสนุนการขับเคลื่อนสุขภาวะของคนทํางานในสถานประกอบการอย่างมีส่วนร่วมด้วยเครื่องมือสุขภาพเชิงบูรณาการ เพื่อพัฒนาสถานประกอบการให้เป็นองค์กรสุขภาวะต้นแบบอย่างมีส่วนร่วม รวมถึงสร้างและส่งเสริมเครือข่ายในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนทํางานในสถานประกอบการ และสนับสนุนให้เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาวะของคนทํางานในสถานประกอบการ โดยในปี พ.ศ.2566 ที่ผ่านมา บริษัทได้จัดกิจกรรมดังต่อไปนี้

กิจกรรม 3 สถานีสุขภาพดีชาวมิตรผล

รู้เท่าทัน รู้ป้องกัน กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ Non-communicable diseases (NDCs) โดยจัดกิจกรรมร่วมกับโรงพยาบาลซีจีเอช อาทิ การเล่นเกมส์ การสอนออกกำลังกาย การทำบันทึกสุขภาพ เป็นต้น

กิจกรรมไทภูเขียว ห่วงใย ห่างไกลโรคซึมเศร้า

ผ่านการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าและการเชิญชวนพนักงานทำแบบคัดกรองภาวะโรคซึมเศร้า อีกทั้งยังจัดให้มีบริการให้คำปรึกษาแบบส่วนตัวโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสำหรับพนักงานที่เป็นกลุ่มเสี่ยงอีกด้วย

กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ด้านสุขภาพ

เช่น เรื่องรู้ทันก่อน…ซึมเศร้า โดย พน.สิทธิกร ปรีชาวุฒิเดช

กิจกรรมลดพุง หุ่นสวย รวยสุขภาพ

โดยการรับสมัครพนักงานที่มี BMI เกินมาตรฐานมาแข่งขันเพื่อควบคุมค่า BMI ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ผ่านการให้ความรู้เรื่องดูแลสุขภาพ การบันทึกข้อมูลสุขภาพก่อนเข้าร่วมกิจกรรม การติดตามผลการออกกำลังกายประจำวัน และการส่งบันทึกขนาดรอบเอว น้ำหนัก ค่าความดันโลหิต และ BMI ประจำเดือน

กิจกรรมสถานประกอบการ ปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข

มิตรผลได้นำแนวทางของสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข มาประยุกต์ใช้ โดยได้กำหนดนโยบายด้านการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และ สิ่งแวดล้อม เช่น การป้องกันควบคุมโรคและการบาดเจ็บ อนามัยสิ่งแวดล้อม โดยผู้บริหารขององค์กรและเผยแพร่ให้พนักงานทุกคนรับทราบ และจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมและความร่วมมือระหว่างองค์กรกับบุคคลากร 

นอกจากนี้ บริษัทยังกำหนดให้มีการประเมินสถานการณ์หรือสำรวจความต้องการในประเด็น และกิจกรรมต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงาน เพื่อนำมาจัดลำดับความสำคัญ และวางแผนการดำเนินงานผ่านการทำกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากร พร้อมทั้งติดตาม ตรวจสอบผลการดำเนินงาน เพื่อปรับปรุงหรือขยายผลการดำเนินงานต่อไป

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ

อัตราการบาดเจ็บถึงขั้นหยุดงาน (Lost Time Injury Frequency Rate – LTIFR)

การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงานทั้งหมด (Total recordable work-related injuries -TRIR

นโยบายที่เกี่ยวข้อง

นโยบายความมั่นคง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อม